แนวทางการบริหารสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1
คำสำคัญ:
สิ่งแวดล้อมศึกษา, การพัฒนาอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และนำเสนอแนวทางการบริหารสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 80 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 วิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการบริหาร พบว่า มีปัญหาด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับแนวทางการบริหาร มีแนวทางดำเนินการครบทุกมิติ ทั้งมิติด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ มิติการจัดกระบวนการเรียนรู้ มิติด้านระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และมิติการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยมีแนวทางสำคัญด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564.สำนักนโยบายและแผนกระทรวงศึกษาธิการ,กระทรวงศึกษาธิการ.
เสรี วรพงษ์. (2557). สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1(1): 162-175.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). เกณฑ์การประเมินมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2563). รายงานโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานของเขตพื้นที่การศึกษากับสถาบันศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. (เอกสารอัดสำเนา)
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activating. Journal of Education and Psychological Measurement, 3(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์