วาระจิตของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
วาระจิต, พระพุทธเจ้า, คัมภีร์พระพุทธศาสนา, เถรวาทบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องวาระจิตของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการรวบรวมทัศนะแห่งจิตของพระพุทธเจ้าในวาระต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์การศึกษาคือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์วาระจิตของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
วาระจิตของพระพุทธเจ้าในขณะที่มีสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาวะแห่งจิตภายในที่แตกต่างกันพบว่า ทัศนะแห่งวาระจิตว่าเป็นวิถีจิตในขณะจิตเดียวหรือทางทวารเดียว ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันโดยรู้อารมณ์เดียวกัน จิตในคราวก่อนการตรัสรู้พบว่ามีสามวาระเป็นสำคัญได้แก่ วาระแรกเป็นวาระแห่งมรรคาที่ปรากฎทัศนะว่าการฝึกร่างกายฝืนธรรมชาติการกระทำนี้ไม่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ วาระที่สองเป็นวาระแห่งการกลั้นลมหายใจและเกิดทัศนะว่าการกระทำนี้ไม่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ วาระที่สาม ในคราวที่ทรงอดพระกระยาหารจนผอม จึงเกิดทัศนะขึ้นอีกว่าการกระทำนี้ไม่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ อันนำไปสู่การบำเพ็ญด้วยจิตวิปัสสนา ในขณะตรัสรู้ วาระจิตของพระองค์มี 2 ขณะ หรือมี 2 วาระจิต กล่าวคือ ก่อนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ จะมีวาระจิตเป็นอภิญญาวิถี คือ เมื่อได้บุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา (มีปัญญาที่สามารถระลึกถึงเรื่องราวของตนที่เคยเกิดมาแล้วในชาติก่อน) และได้ทิพพจักขุอภิญญา (มีตาทิพย์รับรู้การจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณ) หลังจากนั้นเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนิพพานเป็นอารมณ์ วาระจิตที่เข้าถึงมรรคผล ที่เรียกว่า มรรควิถีและผลวิถีหรือโลกุตตรอัปปนาวิถี ส่วนในขณะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน มีวาระจิตเดียว เพราะปรินิพพานวิถีของพระพุทธองค์ มีลักษณะเป็น ชีวิตสมสีสีวิถี คือ พระพุทธองค์จะปรินิพพานทางมโนทวารมรณาสันนวิถีเพียงทางเดียวเท่านั้น
References
ชานป์ วิชช์ทัดแก้ว. (2563). องค์ใดพระสัมพุทธ. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 27(3): 237-245.
พระมหาชิต, ฐานชิโต และ พระครูพิพิธวร กิจจานุการ. (2560). การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐาน ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภัสสร รัชต์กฤษณะโลม. (2564). วิเคราะห์แนวคิดพุทธภาวะในพุทธมหายานกับการพัฒนาสภาพจิตของคนในยุคปัจจุบัน. วารสารชัยภูมิ ปริทรรศน์, 4(2): 24-35.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย (91 เล่ม),พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2536.
วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ. (2564). พระอภิธรรมใครว่ายาก วิถีสังคหะ, ชุดที่ 71. เข้าถึงข้อมูล 12 ตุลาคม 2564 http://lifestudies.net/102.html
วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ. (2563). พระอภิธรรมใครว่ายาก. เล่มที่ 1. นนทบุรี: บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด. หน้า 90-92.
พระมหา พงศ์ศักดิ์ ฐานิโย (คงคา รัตน รักษ์). (2558). พระอรหันต์ปัญญาวิมุตต้องอาศัยฌานสมาบัติใน การบรรลุธรรมหรือไม่. ธรรมธารา, 1(1): 159-184.
พระเอียว สีลวิสุทฺโธ, และ สรวิชญ์ วงษ์สอาด. (2564). ศึกษารูปแบบการสอนกัมมัฏฐานของพุทธมณฑลวิปัสสนาธุระ จังหวัดกัณดาล ประเทศกัมพูชา. วารสารมจรบาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(2): 56-66.
สมศักดิ์ พุดด้วง. (2562). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมตามหลักคำสอนในพุทธปรัชญาเถรวาท. บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 6(1): 40-52.
ประยงค์ และ จันทร์แดง. (2558). การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรัชญาในมหาปรินิพพานสูตร. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ปราชญ์ขยะ. (2558). ลำดับพระญาณแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า, เข้าถึงข้อมูล 9 ตุลาคม 2564. http://khunsamatha.com/
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย. (2553). วิถีจิตสู่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, เข้าถึงข้อมูล 9 ตุลาคม 2564. http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=1545
พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์. (2561). ลีลากระบวนการดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, http://www.dhammathai.org/articles/dbview.php?No=1530 เข้าถึงข้อมูล 6 ต.ค. 2564
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์