การสื่อสารทางการเมืองในสื่อยุคดิจิทัลสมัยปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • ก้องภพ เอี่ยมสมบูรณ์ นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ

กระบวนการสื่อสารทางการเมืองในปัจจุบันสามารถพิจารณาได้จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม รวมทั้งทุนนิยมแบบโลกาภิวัฒน์ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะในยุคของข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน การสื่อสารจึงมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม โดยการสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน ความหมายของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นกระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารความคิดเห็นทัศนคติระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคล โดยผ่านการพูด การเขียน กิริยาท่าทาง การแสดงออก เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารมากที่สุด ซึ่งการสื่อสารจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยองค์ประกอบ อันได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดวิถีชีวิตแบบใหม่ของคนในสังคม รวมไปถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ดังนั้น กระบวนการสื่อสารทางการเมืองในยุคโลกาภิวัฒน์จึงมีความเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยกระบวนการดังกล่าวได้ถูกผสมผสานเข้ากับสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต วิทยุและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงต่อผู้ชม การส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์ เป็นต้น นอกจากนี้อิทธิพลของแนวคิดด้านการตลาดและการโฆษณาในกระแสโลกาภิวัตน์ยังส่งผลให้เกิดการสื่อสารการตลาดทางการเมืองอย่างกว้างขวางทั่วโลกอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลให้ “ทุนเข้ามามีความสัมพันธ์กับการสื่อสารและการเมืองอย่างแยกกันไม่ออก” กลุ่มทุนธุรกิจสื่อสารจึงเป็นกลุ่มทุนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคโลกาภิวัตน์จนกระทั่งสามารถสร้างเครือข่ายการสื่อสารทางการเมืองซึ่งสามารถชี้นำสังคมได้อย่างรอบด้านในลักษณะจักรวรรดินิยมการสื่อสารนั่นเอง

References

กรกนก นิลดำ. (2558). การสื่อสารทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีที่มาจากทหาร. (วิทยานิพนธดุษฎีบัณฑิต. สาขาการสื่อสารการเมือง). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

จรูญ หยูทอง. (2560). การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์. สืบค้น 30 มกราคม 2565, จาก http://www. manager.co.th

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2551). ภาษากับการเมือง/ความเป็นการเมือง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

นันทนา นันทวโรภาส. (2558). สื่อสารการเมือง:ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แมสมีเดีย.

วรัญญู ประเสริฐ และวรรณภา ศิระสังขะ. (2560). การสื่อสารการเมืองในรายการนายกฯพบประชาชน. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ. ขอนแกน: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรพล สุยะพรหม และนันทนา นันทวโรภาส. (2562). การสื่อสารการทางการเมืองของพระเทพปฏิภาณวาที (เจษาคุณพิพิธ) ศึกษาในชวงเวลา พ.ศ.2540 – 2560. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน6 (5), 2501- 2518.

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2560). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารและพฤติกรรมการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15