วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในกูฏทันตสูตร

ผู้แต่ง

  • พศิน สินมา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิเคราะห์, พุทธจริยศาสตร์, กูฏทันตสูตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษากูฏทันตสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์ พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในกูฏทันตสูตร พบว่า พุทธจริยศาสตร์ของพระเจ้ามหาวิชิตราชที่ปรากฏใน กูฏทันตสูตร คือ มีการปกครองประชาชนด้วยหลักทศพิธราชธรรมและอธิปไตย 3 จัดอยู่ในธรรมาธิปไตย ทำให้มีพระจริยาวัตรที่งดงาม ทำให้เป็นที่ยอมรับและเป็นศูนย์รวมของพสกนิกร พระเจ้ามหาวิชิตราชได้มี พราหมณ์ปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ท่านได้รับฟังคำแนะนำจากพราหมณ์ปุโรหิตเพื่อนำมาแก้ไข ปรับปรุง โดยยึดประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง และมีการสงเคราะห์ประชาชนทุกระดับชั้น วรรณะด้วยราชสังคหวัตถุ 4 คือ การเพิ่มข้าวปลูกให้แก่เกษตรกรที่ขยันทำงานในโอกาสอันสมควร เพิ่มทุน ให้แก่พ่อค้าที่ขยันทำงานในโอกาสอันสมควร และพระราชทานเบี้ยเลี้ยง และพระราชทานเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่ขยัน ทำงานในโอกาสอันสมควร ส่งผลให้ปัญหาโจรผู้ร้ายในบ้านเมืองลดลงและผู้คนในสังคมได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน กูฏทันตพราหมณ์มีบทบาทเป็นผู้ปกครองหมู่บ้านขาณุมัตต์ และยังเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณทางศาสนา มีความรู้ในเรื่องพิธีกรรมและหลักคำสอนทางศาสนา ภายหลังจาก ได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์จนเกิดความศรัทธา ทำให้กูฏทันตพราหมณ์เข้าใจถึงความหมายของ ยัญ 3 ประการ และองค์ประกอบ 16 ประการ ที่แท้จริงคือยัญที่ใช้ทรัพย์น้อยเตรียมการน้อยมีผลมาก ต่อมาท่านได้แสดงตนเป็นอุบาสกและบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน

 

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่มที่ 11, 15, 28. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

กีรติ บุญเจือ. (2538). ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.

คณาจารย์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 1.

พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณาจารย์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). พุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 1.

พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2548). จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทองหล่อ วงศ์ธรรมา. (2549). ปรัชญาทั่วไป. พิมมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

บุญมี แท่นแก้ว. (2552). จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.

วศิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดา.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 40. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

ไสว มาลาทอง. (2534). คู่มือประกอบการเรียนการสอนพุทธประวัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

แม่ชีเปรมฤดี บุญมีพิพิธ. (2561). ศึกษาการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมในกูฏทันตสูตร. สารนิพนธ์. บัณฑิตวิทยลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Angeles, Peter A. (1931). Dictionary of Philosophy. New York : Barnes & Noble Books A Division of Harper & Row, Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15 — Updated on 2022-11-15