รูปแบบการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธปรัชญาของสมาชิกในชุมชนคุณธรรมจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการดำเนินชีวิต, หลักพุทธปรัชญา, ชุมชนคุณธรรมจังหวัดนนทบุรีบทคัดย่อ
การสร้างรูปแบบให้กับบุคคลในสังคมเป็นเครื่องมือในการสร้างระเบียบแบบแผน ใน การดำเนินชีวิตที่ดีงามเพื่อสร้างคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมในทิศท่งเดียวกัน ของสังคมไทยในจังหวัดนนทบุรีในปัจจุบัน บทความวิจัยนี่มีจุดประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมชนคุณธรรมจังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญา เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต 3. เพื่อบูรณาการการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธปรัชญาของสมาชิกในชุมชนคุณธรรมจังหวัดนนทบุรี และ 4. เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินชีวิตตาม หลักพุทธปรัชญาของสมาชิกในชุมชนคุณธรรมจังหวัดนนทบุรี รูปแบบการวิจับเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดทฤษฎี Philip Kotler ทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในการสร้างความคิดของทฤษฎีทางการตลาด และ ทฤษฎีการปรับตัวของ Roy, A.D. ผสมผสานกับ เทคนิค/วิธีการกระบวนการ A-I-C เพื่อเป็นการสะท้อนประสบการณ์ในอดีต/สภาพปัจจุบันกับจินตนาการถึงความมุ่งหวังในอนาคตของสมาชิกทุกคน ประโยชน์ของแนวคิดในการพัฒนาใช้ทฤษฎีในชุมชนให้สอดรับกับภูมิปัญญาในในพระไตรปิฎกในชุมชนคุณธรรมปัจจุบัน
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาชุมชนคุณธรรมที่เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองให้มีความร่วมมือกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และการดำเนินชีวิตตามกรอบตมหลักธรรมทางพุทธปรัชญา จะสามารถช่วยการแก้ปัญหาโดยการโดยการนำหลักธรรมด้วยความศรัทธา ได้อย่างดีมีศีลคือ วินัยกรอบแนวทาง เป็นตัวการจัดเตรียมชีวิต ให้สามารถเกิดสมาธิในการพัฒนาตามหลักพุทธปรัชญา ด้วยการศึกษาหลักอิทธิบาทธรรมสี่ นำสารานียธรรม 6 มาใช้ในชุมชน เกี่ยวกับความร่วมมือในการทำงาน ที่มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อการพัฒนาสังคมชุมชนได้อย่างมั่นคงมีหรือปฏิบัติรูปแบบเดียวกัน ตามอริยมรรค มีองค์ 8 นั้น ต้องสร้างแบบพื้นฐานที่ดี และขยายผลให้เป็นปัญญาด้วย การกระทำ มีจิตที่สามารถควบคุมตนเองได้อย่างถูกต้องทางจิตใจในพระพุทธศาสนากับชุมชนคุณธรรมอันเป็นรากฐานการเสริมสร้างคุณธรรมของสถาบันครอบครัว มีเหตุผลของการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธปรัชญาในการดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมนคุณธรรมให้มีความสอดคล้องกลมกลืน กับวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอนนำไปสู่ความจริงและพบความจริงที่สามารถแก้ปัญหาได้ใน 4 มิติทางสังคมของการดำเนินชีวิตเพื่อปรับพัฒนาการดำเนินชีวิตเข้าสู่พุทธปรัชญา ในการดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมชนคุณธรรม จังหวัดนนทบุรี จึงสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ เรียกว่า “BMMI : MODEL” โดยการบูรณาการการนำหลักพุทธศาสนาและหลักปรัชญาที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตสมาชิกในชุมชนคุณธรรมในเขตจังหวัดนนทบุรีสอดรับการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนคุณธรรมเสริมคุณธรรมของพุทธปรัชญาในภาควิชาชีพ นวัตวิถี เพื่อโอกาสใช้ ในรูปแบบการพึ่งพาตนเองกับการพัฒนาชุมชนคุณธรรมในศตวรรษที่ 21 ยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)
References
กันตภณ หนูทองแก้วและคณะ อ้างถึง พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2559). รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการนำหลักสาราณียธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
พระเมธาวินัยรส, พระศรีวินยาภรณ์ สายรุ้ง อินฺทาวุโธ, ฐรพี พิพัฒน์ธนวงศ์ และ สุวิญ รักสัตย์. (2562). การพัฒนาปัญญามนุษย์เชิงบูรณาการแนวพุทธ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 8(4).
พระประสาน ชยาภิรโต (อร่าม วาณิชย์) และ พระสุทธิสารเมธี. (2021). เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม ในพุทธปรัชญา. วารสารมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(1), 96-107. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/25165 0/171168
ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือและคณะ. (2558). ลักษณะหลังนวยุค ในทฤษฎีความพอพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ”, มหาวิทยลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 102 .
อำพล บุดดาสาร. (2556). การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสนาและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: ,มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
รศ.สุเชาว์ พลอยชุม. (2556). พุทธปรัชญาในสุตตตันปิฎก. เอกสารประกอบการบรรยาย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Appleton & Lange. (2009). Wimuttimak. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press. Bangkok.
Thepa, P. C. A. (2022). Conservation of the Thai Buddhist way of the community: A case study of the tradition of alms on the water, Suwannaram temple, Nakhon Pathom Province. NEUROQUANTOLOGY, 20(12), 2916-2936. https://shorturl.asia/MPFlx
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์