หลังโครงสร้างนิยมกับอรรถปริวรรต
คำสำคัญ:
หลังโครงสร้างนิยม, อรรถปริวรรต, การอ่านตีความบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) หลังโครงสร้างนิยม 2) อรรถปริวรรต และ 3) หลังโครงสร้างนิยมกับการอ่านตีความ ผลการศึกษาพบว่า หลังโครงสร้างนิยมกับอรรถปริวรรตนั้นมีความสัมพันธ์กัน สืบเนื่องจากหลังโครงสร้างนิยม เป็นรูปแบบของทฤษฎีทางปรัชญา เชิงทฤษฎี และวรรณกรรม ที่สร้างขึ้นจากการปฏิเสธแนวคิดของโครงสร้างนิยม และมีการพัฒนามาจากแนวความคิดโครงสร้างนิยมที่ได้รับอิทธิพลจากนักภาษาศาสตร์และนักมานุษยวิทยา ฌาคส์ แดริดา (Jacques Derrida) ซึ่งเป็นนักทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมได้นำทฤษฎีการรื้อสร้าง ไปทดลองใช้ในการวิจารณ์วรรณกรรม จนได้รับความสนใจ และใช้ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีการวิเคราะห์การทำงานของคู่ตรงข้ามในโครงสร้างลึกของความคิดและวัฒนธรรมตามทฤษฎีโครงสร้างนิยม มุ่งให้ผู้อ่านได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง และความซับซ้อนของความหมายที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยเหตุนี้ทฤษฎีการรื้อสร้างจึงเป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้กับกระบวนการอ่านตีความ ที่จะช่วยให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความไม่มีเสถียรภาพของภาษา มีการเปลี่ยนแปลง และความซับซ้อนของความหมาย รวมถึงสามารถตีความได้หลากหลาย โดยจะเป็นการตีความตัวบทมากกว่าการแสวงหาความจริงจากตัวบทนั้น ๆ
References
กันยาวีร์ สัทธาพงษ์. (2562). อรรถปริวรรต : การตีความปรัชญาหลังนวยุค กับพุทธปรัชญาสาราณียธรรม 6 เสริมสร้างสังคมคุณธรรม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(1), 1-16.
กันยาวีร์ สัทธาพงษ์. (2562). การประยุกต์ใช้อรรถปริวรรตการตีความปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อสร้างสมดุลชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยมุมมองปรัชญาหลังนวยุค. วารสารเซนต์จอห์น. 22(30), 236-253.
กีรติ บุญเจือ. (2551). “ย้อนอ่านปรัชญากังขาของมนุษยชาติ” (ช่วงวิจารณ์ระบบเครือข่าย). เล่ม 5 ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
กีรติ บุญเจือ. (2546). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่ม 6 ปรัชญาอรรถปริวรรตของมนุษยชาติ (ช่วงพหุนิยม), กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
กีรติ บุญเจือ. (2546). ปรัชญอรรถปริวรรตของมนุษยชาติ (ช่วงพหุนิยม), เล่ม 6 ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ และ สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา, วารสารอาษา : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัฐวุฒิ สิงห์กุล, แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม, ลงข้อมูลเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557. สืบค้นข้อมูลเมื่อ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://nattawutsingh.blogspot.com /2014/01/blog-
post_5356.html.
อรทัย เพียยุระ. (2562). ทฤษฎีตะวันตก กับการวิจารณ์วรรณกรรม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัทราภรณ์ ช้อยหิรัญ. (2563). ทฤษฎีการรื้อสร้างกับการอ่านตีความ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(4), 329-340.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. หลังโครงสร้างนิยม. ลงข้อมูลวันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม 2564. สืบค้นข้อมูล เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https:// th.wikipedia.org/wiki/หลังโครงสร้างนิยม.
วิทยากร เชียงกูล และ พรภิรมณ์ เอี่ยมธรรม. (2547), อธิบายศัพท์ปรัชญาการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: สายธาร.
จิรโชค วีระสย. (2556). เอกสารประกอบวิชาขอบเขตและวิธีการศึกษา (9902) ปรัชญาเชิงศาสตร์ว่า ด้วยมรดกทางปัญญานานาสาขา, กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อารีรัตน์ ภิราษร และ สมหวัง แก้วสุฟอง. (2562). แนวคิดเรื่องความหลากเลื่อนของ ฌากส์ แดร์ริดา. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา. 15(1), 33-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์