ศึกษาวิเคราะห์การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์ ที่มีผลต่อวิกฤติศรัทธา-วิปริต ความภักดี และสัมพันธภาพ ของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนา

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรษัฎฐพรรษ อคฺคธมฺโม (ณ น่าน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ (ญาณปฺปโภ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธศาสนิกชนชาวล้านนา, สัมพันธภาพ, ความภักดี, วิกฤติศรัทธา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาการสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กรสงฆ์ผ่านบทบาทและแนวคิดทางพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในฐานะผู้ส่งสารและพุทธศาสนิกชนชาวล้านนาในฐานะผู้รับสาร (2) เพื่อศึกษาระดับวิกฤติศรัทธา-วิปริต ความภักดี และการมีสัมพันธภาพของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนา และ (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การสร้างรูปแบบองค์ความรู้ใหม่ในการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์ที่มีผลต่อวิกฤติศรัทธา-วิปริต ความภักดี และสัมพันธภาพของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นหรือทัศนะที่มีต่อการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์ของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนาอยู่ในระดับสูงในทุกด้าน         การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนของความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยในภาพรวมที่มีต่อการทำนายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์ของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนา (Sig. =0.000) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการวิเคราะห์สมมติฐานเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของปัจจัยในภาพรวมของด้านภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์, ด้านความภักดีในองค์กรสงฆ์, ด้านความศรัทธาในพระพุทธศาสนา, ด้านวิกฤติศรัทธา ศรัทธาวิปริต อามิสบูชาในพระพุทธศาสนา, ด้านสัมพันธภาพของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนา และด้านสาเหตุและปัจจัยต่อประเด็นปัญหาในองค์กรสงฆ์มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์ของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนา (r =1.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 โดยภาพลักษณ์ที่ค้นพบในพื้นที่ทั้ง 8 จังหวัดในล้านนา คือภาพลักษณ์ซ้อน ขององค์กรสงฆ์ในสายตาคนทั่ว ๆ ไป

References

ธนดล ภูธนะศิริ. (2559). ความประทับใจ ความศรัทธา และการบริจาคของผู้ปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งหนึ่งในภาคกลาง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา 3(2).

นนท์ ธรรมสถิต. (2532). พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: เอดิสัน.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). การศึกษาภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในกระแสการเปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษย์ศาสตร์, 15(1).

ไบร์ท ทีวี. (brighttv.co.th). (2564). พระกรันยา สอนเสพกาม-ดำน้ำ โดนแล้ว สั่งสึก-ปิดทันที วัดป่าเนื้อนาบุญ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.brighttv .co.th/social-news/pra-police-sisaket.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร (รัชการที่ 9). (2532). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเกี่ยวกับศาสนาและศีลธรรม. กรุงเทพฯ: ประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ 36.

พระครูวิวิธรรมโกศล (ชัยวัฒน์ ธมมวฑฒโน). (ม.ป.ป.). กะเทาะเปลือกเวสสันดร พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเซี่ยง.

พระธรรมกิตติวงศ์. (2541). พระสงฆ์กับกรมการศาสนาในกรมการศาสนาสู่ทศวรรษแห่งการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

รัตนาวดี ศิริทองถาวร. (2546). การประชาสัมพันธ์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนีกร เศรษโฐ. (2528). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วศิน อินทสระ. (2537). ชาวพุทธกับวิกฤติศรัทธา. กรุงเทพฯ: ปัญญา.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2528). พระราชดำรัสในการเปิดประชุมเจ้าคณะผู้ปกครองเพื่อการพัฒนาองค์การบริหาร ณ พุทธมณฑล. นครปฐม: เนื่องในงานวิสาขบูชา.

สกุล อ้นมา. (2558). ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในมุมมองของประชาชนในตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(41).

เสกสันต์ ศิริวรรณ. (2553). ความศรัทธาในศีล 5 ที่มีต่อการปฏิบัติตนของวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต,สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2553). ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในอริยวินัย : วิถีชีวิตและบทบาทของพระสงฆ์. รายงานวิจัย, กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภาษิต, (2564). สุภาษิตจากชาดก, สื่อออนไลน์, วันที่สืบค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 2564, จากสุภาษิตนิทานชาดก เข้าถึงได้จาก http://blog.school.net.th/blogs/airjeerawat. php/2009/02/01/-103

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2564). เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชและสมณศักดิ์ของพระสงฆ์. สืบค้นเมื่อ 28 ก.ค. 2564, เข้าถึงได้จาก nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=54

อาทิตยา จารุจินดา. (2546). พฤติกรรมทางศาสนาของคนในสังคมเมือง : กรณีศึกษาวัดสนามนอกและวัดสนามใน ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชามานุษยวิทยา, ภาควิชามานุษยวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hatch, M. and Schultz, M. (1997). Relations between organizational culture, identity and image, European Journal of Marketing, 31(5/6), 356-365.

Sasse, Connie R. (1978). Peoria, III : Chas A. Bennett Company.

kapook.com. (2564). พระราชรัชมุนี, เจ้าอาวาสวัดสวนดอก สวมบัตรประชาชนคนตาย. ออนไลน์. เว็บไซด์กระปุกดอมคอม, 2560, สืบค้นเมื่อ 26 มิ.ย. 2564, เข้าถึงได้จาก https://hilight. kapook.com/?view=year&order=reply&pagestart, (2560).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15