ทัศนคติต่อการทำประกันชีวิตของชาวมุสลิมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ปัญญา วาหะรักษ์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ชนินทร์ วิชชุลตา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • อนิรุทธิ์ ผ่องแผ้ว คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • สมทรง ธรรมธีรา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • นิภาพร ไชยศรีเมือง คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, ประกันชีวิต, มุสลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการทำประกันชีวิตของชาวมุสลิมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดยะลา2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจทำประกันชีวิตของชาวมุสลิมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดยะลาจำแนกตามลักษณะของผู้ทำประกันชีวิต 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทำประกัน จำนวน 384 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบแบบที การทดสอบแบบเอฟ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติต่อการทำประกันชีวิตของชาวมุสลิมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้ทำประกันชีวิตที่มีเพศและอายุแตกต่างกันมีการตัดสินใจทำประกันชีวิตของชาวมุสลิมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลาแตกต่างกัน 3) ปัจจัยด้านความรู้ด้านการประกันชีวิต (X1) ด้านทัศนคติ (X2)  ด้านแรงจูงใจ (X3)ด้านการส่งเสริมการตลาด (X8) ด้านบุคลากร (X9) และด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (X11) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิตของชาวมุสลิมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการตัดสินใจทำประกันชีวิต ได้ร้อยละ 96.90

References

จิราภรณ์ ธิศาลา. (2559). ความต้องการการทำประกันชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอ่างศิลา.

วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการสาธารณะ), วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑารัตน์ บุญกล่ำ. (2563). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตผ่านช่องทางออนไลน์. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฐิตาภรณ์ ชีนาวุธ. (2561). ทัศนคติต่อการวางแผนทำประกันสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพ.

ณัฐธิดา ศุภนิมิตกุล. (2558). ธุรกิจประกันภัยตามหลักศาสนาอิสลาม (ตะกาฟุล). วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพ.

ณัฐิยา ภัทรกิจจานุรักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดลชนก นะเสือ. (2559). ปัจจัยด้านทัศนคติและความคุ้มค่าในการทำประกันชีวิตของลูกค้าธนาคารกสิกรไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). ธุรกิจประกันชีวิต 9 เดือนแรกปี 64 ประกันยูนิตลิงค์เติบโตสูงถึง 88.86%.สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/business/market/2235426. สืบค้นเมื่อ 17

มกราคม 2564.

ประสิทธิ รัตนพันธ์ และคณะ. (2562). รายงานการวิจัย เรื่อง การรับรู้ภาพลักษณ์ธุรกิจประกันชีวิตของผู้บริโภคในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองทุนประกันชีวิต.

นันทวัน ชาวสวนแตง. (2561). พฤติกรรมและการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของลูกค้าธนาคารกสิกรไทยในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม,5(2), 59-74.

มานิต หงส์ทอง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัยการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ของประชากร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.กรุงเทพฯ

มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2561). ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14(1), 203-226.

วิลาภัณย์ พรหมสุวรรณ์. (2554). ทัศนคติและความพึงพอใจโดยรวมต่อการซื้อกรมธรรม์ผ่านทางเทเลมาร์เก็ตติ้งกับ บมจ.ไทยพาณิชย์ นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิตของผู้เอาประกันในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สรฤทธิ์ ทรัพย์สมบัติ และ อารีย์ นัยพินิจ. (2562). การกำหนดแนวทางการตลาดเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 65-79.

สุทิศา นนทพันธ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อประกันของผู้บริโภคต่อ บริษัท เอไอเอ จำกัด ในเขตเทศบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

หทัยทิพย์ แดงปทิว. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อผิวขาวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2003). Marketing and Introduction. (6th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.

Milliman, Inc. (2017). เผยรายงานวิเคราะห์ตลาดประกันตะกาฟุล (Takaful) ทั่วโลก ชี้มีโอกาสเติบโตอีกมาก. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/anpi/2678858 สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15