อรรถปริวรรตศาสนาสู่ปรัชญาศาสนา
คำสำคัญ:
Interpretation; , Philosophy; , Religionบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอรรถปริวรรตศาสนาและปรัชญาศาสนา โดยมุ่งเน้นการตีความจากประวัติศาสตร์ทางศาสนาสู่การตีความอย่างเป็นระบบด้วยหลักการของปรัชญา ผลการศึกษาพบว่า มนุษย์มีพัฒนาการในการตีความศาสนามาโดยตลอดตามลำดับ จนมีรูปแบบการตีความที่เป็นระบบ การตีความตั้งอยู่บนรูปแบบ การตีความคัมภีร์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่มีจุดเน้นที่ต่างกัน ตามคำสอนของแต่ละศาสนา เช่น ความศรัทธา เหตุผล และปัญญา ส่วนปรัชญาศาสนา คือการตีความที่เป็นระบบ เน้นการตั้งคำถามเชิงศาสนา และพยายามหาคำตอบด้วยหลักการของปรัชญา ในด้านอภิปรัชญา ญาณวิทยา ตรรกศาสตร์ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ อันสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับศาสนา หรือเหตุผลกับความเชื่อ โดยมีพื้นฐานบนความเข้าใจว่า มนุษย์ตระหนักถึงชีวิตของตนว่ามีคุณค่าและความหมาย มีความปรารถนาและมีศักยภาพที่จะบรรลุถึงความจริงสูงสุด ของชีวิตที่ตนตัดสินใจเลือก รวมถึงความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทางศาสนา เช่น ชีวิตหลังความตาย วิญญาณและปาฏิหาริย์ แต่ละศาสนายังมีปรัชญาที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ๆ และปรัชญาเหล่านี้ได้รับการชี้นำผ่านแนวคิดและค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังคำสอนที่เกี่ยวข้องกับระบบความเชื่อของศาสนานั้น ๆ เมื่อปรัชญาเข้าไปเกี่ยวข้องกับกับศาสนา วิเคราะห์และวิพากษ์ศาสนาในมุมมองของเหตุผลเพื่อให้ศาสนิกชนมองเห็นเหตุผลที่อยู่ในคำสอนทางศาสนาซึ่งคนทั่วไปอาจมองไม่เห็น ปรัชญาช่วยให้ศรัทธาทางศาสนามีเหตุผลมากขึ้น ส่วนประโยชน์ตอบแทนที่ปรัชญาได้รับจากการไปเกี่ยวข้องกับศาสนา คือการเพิ่มเนื้อหาสาระของปรัชญาให้มีมิติทางศาสนาหรือทางจิตวิญญาณของมนุษย์มากขึ้น
References
กีรติ บุญเจือ. (2546). ปรัชญาและศาสนาเพื่อสันติภาพ ชุดรวมบทความเล่มที่ 6 มนุษย์กับสันติภาพ. พิมพ์ ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, “ศาสตร์แห่งการตีความแนวพุทธ”. 9 กุมภาพันธ์ 2555. <http://oldweb.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=449&articlegroup_id=102> (7 February 2022).
ญาณวชิระ. (2549). ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย : กำเนิดและพัฒนาการความคิดด้านอภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ จักรวาลวิทยา และสุนทรียศาสตร์ไทย. กรุงเทพมหานคร : วชิราสำนักพิมพ์.
Briggs, R. S. (2006). What Does Hermeneutics Have to Do With Biblical Interpretation? Heythrop Journal XLVII.
Bleicher, J. (1980). Contemporary Hermeneutics: Hermeneutics as Method, Philosophy and Critique. London: Routledge.
Duke, J. (1977).Schleiermacher: On Hermeneutics. In F. D. E. Schleiermacher. Hermeneutics: The Handwritten Manuscripts.
Hoy, D. C. (1993). Heidegger and the Hermeneutic Turn. In Charles Guignon (ed.). The Cambridge Companion to Heidegger. Cambridge: Cambridge University Press.
Inwood, M. (1998). Hermeneutics. In Edward Craig (ed.). Routledge Encyclopedia of Philosophy. London: Routledge. [CD- Rom Version 1.0].
Prasad, A. (2002). The Contest over Meaning: Hermeneutics as an Interpretive Methodology for Understanding Texts. Organizational Research Method 5(1):
Ricoeur, P. (1981). The Task of Hermeneutics. In Hermeneutics and the Human Sciences: Essays on Language, Action and Interpretation, (Ed. and Trans. John B. Thompson). Cambridge: Cambridge University Press.
Seebohm, T. M. (2004). Hermeneutics. Method and Methodology. Dordrecht: Kluwer Academic Publishers.
Wallace, V. A. (2003). The Methodological Relevance of Contemporary Biblical Scholarship to the Study of Buddhism. In Roger Jackson and John Makransky (eds.). Buddhist Theology: Critical Reflections by Contemporary Buddhist Scholars. London: RoutledgeCurzon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์