วิเคราะห์การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร
คำสำคัญ:
วิเคราะห์; , การทิ้งเหตุผล; , เกสปุตตสูตรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา 2) เพื่อศึกษาเกสปุตตสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) การทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา คือ การใช้สิ่งที่ไม่ใช่เหตุผลมาอ้างเป็นเหตุผล หรือการคิดหาเหตุผลไม่ถูกต้อง เป็นความบกพร่องในการอ้างเหตุผล แต่มิใช่ความบกพร่องที่เกิดจากเหตุผลไม่สมบูรณ์ หากแต่เป็นความบกพร่องที่เกิดจากการทิ้งเหตุผล แบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้ (1) การทิ้งเหตุผลด้วยภาษา (2) การทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ (3) การทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา (4) การทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา 2) เกสปุตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้านำเอาหลักความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ปรากฏในสังคมอินเดียในสมัยนั้น มาตรัสเพื่อเตือนสติแก่ชาวกาลามชนในแคว้นโกศล สิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อนั้น ไม่ได้แปลว่าไม่ให้เชื่อในหลักความเชื่อแบบดั้งเดิม 10 ประการ แต่ก่อนที่จะปลงใจเชื่อควรใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่า สิ่งนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนหรือยกย่อง ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นอกุศล ไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนก็ควรละเสีย แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นกุศล มีประโยชน์ บัณฑิตยกย่อง ก็ให้ถือปฏิบัติสืบต่อไป 3) การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร เป็นการให้ละทิ้งการอ้างสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุผลเพราะการอ้างสิ่งต่าง ๆ เพียงส่วนเดียวเป็นเหตุผลนั้น ก็ดูจะเป็นการเชื่อที่เข้าหลักการทิ้งเหตุผลอย่างหนึ่ง เช่น การเชื่อตำรา การเชื่อด้วยการคิดตามแนวเหตุผล ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลด้วยภาษา การเชื่อด้วยเหตุผลทางตรรกะ การเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏี ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางรูปแบบมีลักษณะของการเชื่อด้วยการฟังตามกันมาซึ่งมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา
References
โกเมนทร์ ชินวงศ์. 2556. ตรรกศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณาจารย์ มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2558. ตรรกศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2558.
ชเอิญศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา และวิโรจน์ นาคชาตรี. 2542. การใช้เหตุผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยารามคำแหง.
ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร. 2547. พระพุทธเจ้าสอนอะไร แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืนและคณะ. 2559. การใช้เหตุผล: ตรรกวิทยาเชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์