การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง, การหลอมรวมสื่อ, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร วิเคราะห์ด้วยวิธี Content Analysis มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทการสื่อสารทางการเมืองไทย ช่วง พ.ศ.2549 –พ.ศ.2563 (2) ศึกษากระบวนการสื่อสารของผู้ปฏิบัติการทางการเมืองผ่านปรากฎการณ์ในสื่อ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ (3) ศึกษาปรากฏการณ์การหลอมรวมสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ และ (4) ค้นหาปัจจัยความสำเร็จของการสื่อสารทงาการเมืองไทยที่คำนึงถึงบริบททางสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง

ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการสื่อสารทางการเมืองของไทย พ.ศ.2549 –พ.ศ.2563 มีวิวัฒนาการไม่หยุดนิ่ง 2) ในกระบวนการสื่อสาร ผู้ส่งสารมีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสาร “ศาสตร์ทางการตลาด” มีบทบาทในการเจาะกลุ่มเป้าหมาย ขณะที่ผู้รับสารในสังคมไทยมีความแตกต่างกันมาก แต่มีลักษณะเฉพาะร่วม คือ อ่อนไหวง่ายต่อกระแสสังคมและนิยมหวังพึ่งวีรบุรุษซึ่งตรงกับลักษณะมีมสีแดงในทฤษฎีเกลียวพลวัต จึงทำให้การสื่อแบบปากต่อปาก (Viral Marketing) ใช้ได้ผลดี            3) ปรากฏการณ์หลอมรวมสื่อสังคมออนไลน์เป็นนวัตกรรมสื่อใหม่ที่ขับเคลื่อนมวลชนในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อต่อ “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่” ผลักดันขอบเขตของ “พื้นที่สาธารณะ” ทั้งมิติกายภาพและออนไลน์ ช่วยให้การผลิตชุดข้อมูลซ้ำเป็นไปได้สะดวกและรวดเร็ว โดยไม่ผูกติดกับสถานที่หรือเวลา 4) ปัจจัยความสำเร็จของการสื่อสารทางการเมืองภายใต้บริบทสังคมไทยประกอบด้วย “ผู้ส่งสาร” ที่มีทักษะการพูดดี เข้าใจกลยุทธ์การตลาดและทักษะดิจิทัล “สาร” ที่ตรงกับพฤติกรรมและรสนิยมของกลุ่มเป้าหมาย “ช่องทางการสื่อสาร” แบบหลอมรวมระหว่างสื่อใหม่กับสื่อเก่าโดยใช้นวัตกรรมช่วย  และ “ผู้รับสาร” ที่พร้อมสนองตอบอย่างรวดเร็ว

 

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุสุมา กูใหญ่. (2556). Media and Society พื้นที่สาธารณะ. สืบค้นจาก

http://kusumakooyai.blogspot.com/ 2013/05/blog-post.html.

ณัฐวุฒิ พงศ์ศิริ. (2562). กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์นักสังคมสงเคราะห์ของ นางปวีณา หงสกุล : ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2531–2557. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญา. ดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

นภาภรณ์ พิพัฒน์, วิชัย ตันศิริ และ กนกรัตน์ ยศไกร. (2557). เทคโนโลยีการสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 9(10), 99-119.

นันทนา นันทวโรภาส. (2557). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: แมสมีเดีย.

พฤทธิสาณ ชุมพล. (2540). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2557). นวัตกรรมการสื่อสารและการขยายพลังอำนาจในการอธิบายของทฤษฎีการสื่อสาร “พื้นที่จริง” ไปสู่ “พื้นที่เสมือนจริง”. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม, 1(1):33-48.

ยุทธพร อิสรชัย. (2559). แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง. เอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 8. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรัญญา ประเสริฐ และคณะ (2559). การสื่อสารทางการเมืองในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2557-2559. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภวงค์ โหมวานิช. (2543) กลยุทธ์และประสิทธิภาพการสื่อสารการตลาดขององค์การส่งเสริมการทองเที่ยวออสเตรเลียในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนทร คุณชัยมัง. (2555). โลกไซเบอร์กับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ของไทย (พ.ศ. 2549 – 2554).

วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สุภวัฒน์ สงวนงาม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). การประยุกต์ทฤษฎีในการสื่อสาร. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 9-15. (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อดิเทพ บุญสุข. (2556). การสื่อสารทางการเมืองเรื่องพลังงานในอ่าวไทย: กรณีศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2524 – 2553. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

Beck, D, & Cowan, C. (1996). Spiral Dynamics: Mastering Values, Leadership, and Change, Oxford: Blackwell Publishers.

Berlo, D. K. (1960) The Process of Communication. New York : Holt, Rinehart and Winston.

Blumer, H. (1969). Symbolic interactionism: Perspective and method. Englewood Cliffs,

NJ: Prentice Hall.

Blumer, H. (1969). Symbolic interactionism: Perspective and method. Englewood Cliffs,

NJ: Prentice Hall.

Habermas, J. (1989). The Structural Transformation of the Public Sphere: An Inquiry

Into a Category of Bourgeois Society. Cambridge: Polity Press.

Lilleker, D. (2006). Key concepts in political communication. London, Thousand Oaks,

New Delhi: SAGE Publications.

McNair, B. (2019). An introduction to political communication (7th ed.). Oxon: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15