พระสิริมังคลาจารย์จอมปราชญ์แห่งล้านนาผู้รจนามังคลัตถทีปนี

ผู้แต่ง

  • ผ่องไพรธรรม กล้าจน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาเขตชียงใหม่
  • พระครูธรรมธรชัยวิชิต ชยาภินนฺโท, ดร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาเขตชียงใหม่

คำสำคัญ:

พระสิริมังคลาจารย์, จอมปราชญ์แห่งล้านนา, มังคลัตถทีปนี

บทคัดย่อ

มังคลัตถทีปนี เป็นวรรณกรรมเรื่องเอกของพระสิริมังคลาจารย์ ได้รจนาเมื่อ พ.ศ. 2067  ได้แสดงถึงอัจฉริยภาพ ไหวพริบปฏิภาณ ความเป็นพหูสูต ความเป็นธรรมกถึก มีสัปปุริสธรรม มีอิทธิบาท มีปัญญาแตกฉาน ครบพร้อมทั้งศาสตร์ความรู้และศิลปะในการอธิบายหัวใจหลักของพระพุทธศาสนาคือความเข้าใจเชื่อชัดเรื่องกรรมและผลของกรรม คืออริยสัจ 4 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่สุดในการปฏิบัติธรรมสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยการอธิบายความหมายของมงคล 38 โดยละเอียดด้วยภาษาไพเราะและสละสลวย มีจุดเด่นในการอธิบายธรรมะที่เข้าใจยากให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายโดยยกนิทานมาประกอบจำนวนมากถึง 247 เรื่องจากที่มีทั้งสิ้น 547 เรื่อง นิทานทุกเรื่องมีเนื้อหาที่ชี้ชัดตรงกันว่า ผู้ไม่ปฏิบัติตามมงคลข้อนี้จะได้รับโทษแบบนี้ ผู้ปฏิบัติตามมงคลข้อนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างนี้ จะเห็นได้ว่ามงคลที่แท้จริงคือมงคลภายในที่เกิดจากการกระทำของเราเองไม่ใช่เกิดจากภายนอก ทำให้เห็นชัดเจนว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของเหตุและผล เป็นศาสนากรรมนิยม เป็นศาสนาแห่งการพึ่งตนที่แท้จริง หากเราอยากได้ผลดี เราก็ต้องสร้างเหตุปัจจัยที่ดี คือ คิดดีพูดดีทำดีย่อมได้รับผลดี แต่ถ้าเราอยากได้ผลดีแต่เราไม่ได้สร้างเหตุปัจจัยที่ดี คือเรายังคิดชั่วพูดชั่วทำชั่วอยู่ เราก็ย่อมจะได้รับสิ่งชั่วผลชั่วเท่านั้น

References

กรมการศาสนา. 2539, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ใจเพชร กล้าจน. 2563. บททบทวนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดี.

ธีระ อุษณกรกุล. 2556. ธรรมพุทธสุดลึก. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.

พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน). (ม.ป.ป.). คัมภีร์มงคลทีปนีแปลโดยพิสดารเล่มเดียวจบ.

พระครูธีรสุดพจน์ (พระมหาสง่า ธีรสํวโร). 2556. ตามรอยพระสิริมังคลาจารย์สังฆปราชญ์ล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

พระมหาอดุลย์ คนแรง. 2541. การศึกษาเชิงวิเคราะห์มังคลัตถทีปนี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร,

พระมหาพิเชษฎ์ จตฺตมโล. 2559. การศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักคำสอนในมงคล สูตร. พุทธมัคค์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 19-24.

พระสิริมังคลาจารย์ มหาปราชญ์แห่งล้านนา. 2564. แหล่งที่มา: http://historicallanna01.blogspot.com/2011/04/blog-post_14.html [เข้าถึง 10 กันยายน 2564].

พระเจ้าติโลกราช. 2564. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/มังคลัตถปนี [25 สิงหาคม 2564]

สมณะโพธิรักษ์. 2564. รวมเปิดโลกบุญนิยม เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ฟ้าอภัย.

สมิทธิพล เนตรนิมิต. 2560. มังคลัตถทีปนี : แนวทางการดำรงอยุ่แห่งชีวิตที่ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย. มหาจุฬาวิชาการ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1: 17-32.

อภิสิน ศิวยาธร. 2563. อภิธานศัพท์อโศก. กรุงเทพฯ: บริษัท วิสคอมเซ็นเตอร์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10