แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • เอกชัย ลวดคำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ดร. วีรภัทร ภัทรกุล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 338 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การเทียบตารางกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ นักวิชาการด้านการศึกษา ผู้บริหารภายในเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา รวม 9 คน  โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 พบว่า บทบาทภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก = 3.94 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการใส่ใจผู้อื่น   = 4.00 รองลงมา คือ ด้านความยุติธรรม = 3.97 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการเคารพความเสมอภาค  = 3.87 ขั้นตอนที่ 2 พบว่า แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 5 ด้าน ด้านละ 2 ประเด็น รวมทั้งสิ้น 10 ประเด็น เช่น  ผู้บริหารสถานศึกษาควรควรประกาศนโยบายให้ผู้บริหารสถานศึกษาเน้นการบริหารบุคคลโดยมองที่ผลสัมฤทธิ์ของงานและคำนึงถึงเป้าหมายหลักของสถานศึกษาเป็นหลัก และควรออกคำสั่งให้ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างช่องทางติดต่อผู้บริหารโดยตรง เป็นต้น  

References

ชาญสิทธิ์ คำเทศ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมสาศตร์และมนุษย์ศาสตร์, 7(1), 132-137.

พิมพ์ใจ โนนธิง. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. ธรรมทรรศน์, 15(1), 135-142.

ลัดดา จุลวงศ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(1), 17-30.

วาริษา ประเสริฐทรง. (2558). ทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLS ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 88-95.

วินัย ทองมั่น. (2563). คุณธรรมและจริยธรรม แนวทางป้องกันความไม่โปร่งใสในการบริหารสถานศึกษา.บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(1), 367-375.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (2563). เอกสารหมายเลข 5/2563 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 พ.ศ.2563-2565. สุพรรณบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 4.

สุรเชษฐ์ โซวเกียรติรุ่ง. (2553). คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, 6, 166-175.

Brown, M. E., Trevino, L. K., & Harrison, D. (2005). Ethical Leadership: A Social Learning Perspective for Construct Development and Testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes. 97, 117-134.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07