การศึกษาเชิงวิเคราะห์พิษภัยในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
พิษภัยในพระพุทธศาสนา, วิเคราะห์พิษภัย, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพิษภัยในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ป้องกันพิษภัยในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางป้องกันพิษภัยในพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 6 รูป/คน การนำเสนอด้วยวิธีการวิเคราะห์พรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า พิษภัยในพระพุทธศาสนานั้นหมายเอาความกลัวหรืออันตรายที่เกิดขึ้นมาจากพิษภัย ไม่ว่าจะเป็นพิษภัยจากภายนอก ได้แก่ สิ่งที่เป็นพิษต่าง ๆ หรือพิษจากภายใน ได้แก่ กิเลสตัณหาต่าง ๆ ก็ตาม พิษนั้นทั้งหมดย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายและจิตใจของบุคคล
หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันพิษภัย ทั้งหลักการและวิธีการ ได้แก่ หลักอัปปมาทธรรม หลักอปัณณกธรรม หลักศีล และหลักโยนิโสมนสิการ หลักทั้ง 4 ระการนี้สามารถใช้ป้องกันและรักษาพิษภัยได้ทั้งภายนอกและภายในเพื่อทำให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างมีความสุข
แนวทางปฏิบัติการดำรงชีวิตให้ปลอดภัยด้วยสติถือว่าเป็นรากฐานของการไม่ประมาททั้งมวล เป็นเหตุทำให้ชีวิตไม่ผิดพลาดเสียหาย การรู้จักระมัดระวังพิษภัยที่จะเกิดขึ้น รู้จักฝึกฝนจิตใจให้เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวต่อพิษภัยที่เข้ามากระทบ รู้จักรักษาสัมพันธภาพระหว่างกันและกันให้ดีย่อมป้องกันพิษภัยที่จะเกิดขึ้นและระงับพิษภัยที่เกิดขึ้นแล้วได้ การมีความคิดรอบคอบ คิดเป็นระบบ ระเบียบแบบแผน อาศัยเหตุผลในการไตร่ตรองเชื่อมโยงให้เห็นกระบวนการ รู้จักปลุกเร้ากุศลธรรมให้เกิด ไม่ปล่อยให้ความคิดลบเกิดขึ้น คิดแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดที่ทำลงไปแล้วเป็นแนวทางในการทำชีวิตให้ปลอดภัยได้
References
กรุงเทพธุรกิจ, (2563). สสจ.บุรีรัมย์พบ'สารฟอร์มาลิ่นในอาหารทะเล. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/623745>
จิตศริณย์พร ปัญจวัฒนคุณ. (2559). ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการขัดเกลากิเลสที่ปรากฏในสัลเลขสูตร. วารสารบัณฑิตศาส์น มมร. 14(1), 1-11.
เดลินิวส์, (2563). ความรุนแรงของพฤติกรรมก้าวร้าว, สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก https://www.dailynews.co.th/article/5374477
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เล่มที่ 20, 21, 22, 29, 32.. (2539).
พระครูสมุห์สมชาย สิริสมฺปนฺโน และคนอื่น ๆ. (2560). ความโลภ : การแก้ปัญหาในสังคมปัจจุบันตามหลัก พระพุทธศาสนา. วารสารปัญญาปณิธาน, 2(2), 1-15.
พุทธทาสภิกขุ. (2560). ตัวกู-ของกู. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ: กรุงเทพมหานคร, 267.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2549). ชีวิตนี้น้อยนักกรุงเทพมหานคร : วัดบวรนิเวศวิหาร, 63.
สมเด็จพระพุทธโมษาจารย์ (ป. อ.ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 52). สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็กแอนด์โฮม จำกัด: กรุงเทพมหานคร, 1191
อุทัย กมลศิลป์และคนอื่น ๆ. (2562). การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนาเถรวาท, วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 1-11
Thai PBS, (2562). สัญญาณเตือน เด็กติดเกม, สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม2562,จาก https://news.thaipbs.or.th/content/28536
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์