ภาวะผู้นำในทัศนะพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ; , พุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในทัศนะพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า บุคคลมีวิสัยทัศน์ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง หรือได้รับการยกย่องขึ้นให้เป็นหัวหน้าผู้ตัดสินใจ ที่มีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นภายในกลุ่ม และเป็นผู้ใช้อิทธิพลนั้นทำให้บุคคลอื่น ๆ ภายในกลุ่มปฏิบัติงานให้ตนอย่างมีความพึงพอใจและบรรลุถึงเป้าหมายดังที่ผู้นำปรารถนา มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลในกลุ่มให้ปฏิบัติงาน บทบาทของผู้นำ รับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่องค์การกำหนดไว้ตามลักษณะประเภทงานที่ผู้นำจะต้องทำ ช่วยเสริมสร้างให้ปริมาณและคุณภาพของงานได้รับผลสูงสุด เป็นผู้ติดต่อประสานงานในองค์กร เพื่อให้งาน มีประสิทธิภาพ เป็นผู้สั่งงานและควบคุมงาน ทำให้องค์กรดำเนินไปอย่างบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ นำพาหน่วยงานไปจนสู่บรรลุผลตามเป้าหมายความ เจริญก้าวหน้า” ที่กำหนดไว้ได้ ภาวะผู้นำทางพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ เจ้าอาวาสพระสงฆ์ผู้ปกครองวัดอารามของแต่ละแห่ง แต่ละวัดเจ้าอาวาสทำหน้าที่ผู้นำในวัดปกครองพระสังฆาธิการ พระภิกษุ สามเณร พร้อมทำหน้าที่บุคลากรจุดศูนย์รวมการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลในชุมชน สังคม รวมถึงการทำหน้าที่ เป็นผู้นำสื่อเชื่อมต่อระหว่างประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงทุก ๆ งานบุญ พิธีกรรมพระพุทธศาสนา เจ้าอาวาสทำหน้าที่ผู้นำจุดเริ่มต้นของงานบุญนั้น
References
กวี วงศ์พุฒ. (2539). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี.
พระจารุวัฒน์ ภูริวฑฺฒโน. (2555). การศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในเขต
การปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพปริยัติเมธี, ผศ.ดร. (2562). เรื่องกลยุทธ์การสร้างภาวะผู้นำเชิงพุทธ. สารนิพนธ์. วิทยาลัยสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์.
พระธรรมปิฎก ประยุทธ์ ปยุตฺโต. (2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม (ยศขุน). (2543). การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักรัฐศาสตร์ที่มีในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุรวัฒน์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก https://www.jaturapad.com /archives/1147
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). สาราณียสูตร อังคุตรนิกาย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 22. กรุงเทพฯ
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์. (2565). โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565. จาก https://www.sila5.com/detail/
สามารถ มังสัง. (2561). สาราณียธรรม 6 เพื่อการอยู่ร่วมกัน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565. จาก https://mgronline.com/daily/96 229668
Drath, W. H., & Palus, C. J. (1994). Making common sense: Leadership as meaning-making in a community of practice. Center for Creative Leadership.
Krech, D., Crutchfield, R. S., & Ballachey, E. L. (2008). Individual in Society. Tokyo: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์