การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในสหวิทยาศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ธงชัย ดีมูลพันธ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ประเทศไทย
  • รศ.ดร.วรกาญจน์ สุขสดเขียว ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา; , ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสหวิทยาศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 2) แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสหวิทยาศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครู ของสถานศึกษาในสหวิทยาศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 9 คน ข้าราชการครู จำนวน 77 คน รวมทั้งสิ้น 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสหวิทยาศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ด้านการจัดกิจกรรมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามลำดับ 2) แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสหวิทยาศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการศึกษา คือ ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน คือ ควรมีการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ ควรมีการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านพัฒนาบุคลากร คือ ควรมีการส่งเสริมบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ คือ ควรมีการพฒนาสถานศึกษาให้ได้รับการยอมรับด้านการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษา. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.,

ณัฐพร เอี่ยมหรุ่น. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. (2565). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116. ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม 2542). (สัมภาษณ์. 22 เมษายน 2565).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สระบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2.

_______. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552- 2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

Glauber, J. and other. (2020). COVID-19: Trade Restrictions Are Worst Possible Response to Safeguard Food Security. 27.

Krejcie R.V. and D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 30.

Rensis Likert. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill Book Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31