ราชประศาสนศาสตร์การต่างประเทศของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
คำสำคัญ:
ราชประศาสนศาสตร์;, การต่างประเทศ;, อำนาจละมุน;, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาราชประศาสนศาสตร์ด้านการต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์อำนาจละมุน (Soft Power) ผ่านการทรงงานด้านการต่างประเทศ และ เพื่อวิเคราะห์ความเป็นผู้นำ ภายใต้การทรงงานด้านการต่างประเทศ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ผลการศึกษา พบว่า ราชประศาสนศาสตร์ทางการต่างประเทศของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เป็นการทรงงานเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์ไมตรีและความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยและประเทศที่ไปเยือน ยังเป็นโอกาสที่ได้ทอดพระเนตรกิจการงานด้านต่าง ๆ ทั้งชีวิตความเป็นอยู่ สังคม วัฒนธรรม ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี และได้ทรงพบปะบุคคลสำคัญเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำประเทศ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาวิชา และได้นำความรู้จากประสบการณ์เหล่านั้นมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในประเทศไทย ในการวิเคราะห์อำนาจละมุนผ่านการทรงงานด้านการต่างประเทศของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ชี้ให้เห็นว่าทรงเป็นที่รักยิ่งของรัฐบาลจีนและชาวจีนมากมาย เช่น ในปี พ. ศ. 2562 ทรงได้รับเหรียญ “รัฐมิตราภรณ์” ซึ่งรัฐบาลจีนได้จัดให้มีพิธีมอบเหรียญรางวัลเกียรติยศแก่บุคคลผู้กระทำคุณงามความดีอย่างสูงให้บุคคลทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติ และคุณลักษณะของความเป็นผู้นำในทางราชประศาสนศาสตร์ของพระองค์ท่านทรงเป็นจุดเด่นประการสำคัญที่ทำให้พระองค์ท่านสามารถเอาชนะใจเพื่อนบ้านมิตรประเทศทั้งผู้นำและคนในชาติซึ่งแสดงออกถึงความจงรักภักดีอย่างสูงสุดและมีความเชื่อมั่นตัวพระองค์ท่าน ดังจะเห็นได้จากรางวัลบางส่วน อาทิ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน จากมูลนิธิรามอน แมกไซไซ ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และพระองค์ทรงเป็น “1 ในมหามิตร 10 อันดับของจีน” ที่ได้รับการโหวตผ่านสถานีวิทยุ CRI หรือ China Radio International จากประชากรอินเทอร์เน็ตจีนถึง 15 ล้านเสียง ทรงได้รับการยกย่องเป็น “จงกว๋อหยวน” หรือมิตรแท้ที่ผูกพันโดยพรหมลิขิตหรือบุพเพ
References
ชยพล เพชรพิมล. (2556). ทฤษฎีบารมี (Charismatic theory). ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นักรบ มูลมานัส. (2561). บันทึกของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงเดินทางถึงทวีปยุโรป ในสมัยที่หอไอเฟลมีอายุแค่ 8 ปี. สืบค้น 4 เมษายน2564, จาก https://readthecloud.co/notena tion-la-tour-eiffel
วัชรี สงวนศักดิ์โยธิน. (2564). โครงการพระราชดำริของกองทัพบกในฐานะราชประศาสนศาสตร์(ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต.
สยามรัฐออนไลน์. (2560). รายงานพิเศษ: สถาบันพระมหากษัตริย์กับการทูต. สืบค้น 4 เมษายน2564 , จาก https://siamrath.co.th/n/6969
อิงอร เนตรานนท์. (2563). พลังอำนาจแห่งชาติซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(1), 33-47.
MGR Online. (2559). ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังให้สัมพันธภาพไทย-จีนไทย-จีน หวนกลับมาแนบแน่น ตอนที่สอง. สืบค้น 4 เมษายน 2564, จาก https://mgronline.com/
china/detail/9590000108001
Nye, J. S. (2004). Soft Power: The Mean to Success in World Politics. New York: Public Affairs.
Nye, J. S. (2015). Is the American Century Over?. Cambridge: Polity.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์