ทักษะการบริหารจัดการสถาบันศึกษาตามแนว ESG

ผู้แต่ง

  • ทิพย์วรรณ สุพิเพชร สาขาพุทธบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทักษะบริหารการศึกษา, แนวคิด ESG, การบริหารสถาบันศึกษา, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโลกยุคใหม่ เพื่อการพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ เป็นภาระที่หนักและท้าทายสำหรับผู้บริหารของสถาบันศึกษาที่จะต้องพัฒนา วิธีการที่หลากหลายมาใช้พัฒนาผู้สอนและผู้เรียนให้มีทักษะในด้านความรู้ พฤติกรรม และคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเมื่อสำเร็จการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่สำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายของหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ วิสัยทัศน์และเป้าหมายของสถาบันศึกษา

ทักษะของผู้บริหารในการจัดการสถาบันศึกษาตามกรอบแนวคิด ESG ในมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ด้านสังคม (Social) และด้านธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อความยั่งยืนในองค์กรที่มีความแตกต่างจากการบริหารแบบเดิม ก่อนวิกฤติการระบาดและผลกระทบสภาวการณ์ของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อระบบการศึกษาและเป็นความท้าทายอย่างมากของผู้บริหารที่จะนำพาสถาบันศึกษา พัฒนาผู้สอน และพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะต่างๆ ในศตวรรษที่ 21 ให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบแผนการศึกษาของชาติ บทความนี้เห็นถึงความจำเป็นต้องศึกษาพัฒนาวิธีการจัดการ การเรียนรู้แบบใหม่ที่เน้นทักษะความรู้ที่รอบด้านมากกว่าการเรียนรู้ตามระบบหรือตามหลักสูตร และความหลากหลายของรูปแบบการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคลได้สูงสุด เพื่อประโยชน์ในส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ได้อย่างดีมีประสิทธิภาพในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคใหม่

References

กฤษฎาภรณ์ รุจิธำรงกุล. (2560). ภาวะผู้นำเชิงวสัยทัศน์เหนือชั้นกับการจัดการสถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชนในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมวิจัย. 22(3): 132-142.

ศุภโชค ปิยะสันต์. (2564). 5 ทักษะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565, จาก https://www.starfishlabz.com/blog/600-5- ทักษะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (พฤษภาคม 2531). เพื่ออนาคตของการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://www.watnyanaves.net/th/book-reading/326/5

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2560. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

Grob-Zakhary, R. (2020). COVID-19 is an opportunity to reset education. Here are 4 ways how. Retrieved November 12, 2022 from https://www.weforum.org/agenda/2020/10/covid-19-education-reset

Usak, M. et al. (2021). A Concretizing Research on Making Higher-Education Sustainability Count. Sustainability. 13(2724), 1-14.

WEF. (2016). New Vision for Education: Fostering Social and Emotional Learning through Technology. Geneva: World Economic Forum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30