การเก็บเมล็ดพันธุ์ : ความมั่นคงทางอาหารในวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย

ผู้แต่ง

  • นพดล สอดแสงอรุณงาม สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง, วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม, มหาวิทยาลัยสังสิต
  • ผศ.ดร.ฉัตรวรัญช์ องคสิงห สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง, วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม, มหาวิทยาลัยสังสิต

คำสำคัญ:

การเก็บเมล็ดพันธุ์; , ความมั่นคงทางอาหาร; , วิถีชีวิตเกษตรกรไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปิดเผยวิถีการเก็บเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรไทยที่เคลื่อนไหวการก็บเมล็ดพันธุ์ 2) ศึกษาความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทยและสังคมต่างประเทศ 3) วิเคราะห์ชุดความรู้และแนวทางปฏิบัติการเก็บเมล็ดพันธุ์ที่สอดคล้องบริบทของสังคมไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารบทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ หลักการ แนวคิดทฤษฎี ในการเก็บเมล็ดพันธุ์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวนผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 25 คน ทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความเที่ยงตรงด้วยเทคนิคการตรวจสอบสามเส้าโดยพิจารณาความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ หัวข้อ และเนื้อหา

ผลของการศึกษาเผยให้เห็นว่า 1)    วิถีการเก็บเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรที่เคลื่อนไหวเรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ พบชุดความรู้ของการเก็บเมล็ดพันธุ์ในสังคมไทยจำแนกได้เป็น 2  แนวทาง คือเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยนักวิชาการ นักวิจัยด้านการเกษตรที่มีความรู้และ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดี สวยงาม จำหน่ายได้ราคาดี 2) ความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทยและสังคมต่างประเทศ พบว่า ในการวิเคราะห์เรื่องอำนาจความรู้ มีความรู้ใน 2 ระดับ  ระดับแรก เมื่อพื้นที่ของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเปิดกว้างให้กับกลุ่มประเทศที่เป็นพันธมิตรทางการค้ามีโอกาสในการใช้อำนาจเพื่อการเข้าถึงแหล่งอาหารของโลก 3) การวิเคราะห์ชุดความรู้และแนวทางปฏิบัติการเก็บเมล็ดพันธุ์ที่สอดคล้องบริบทของสังคมไทย พบว่าการเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ชัดเจนในสองพื้นที่คือพื้นที่ของภาครัฐ และภาคประชาสังคม  ซึ่งยืนอยู่บนชุดความรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมล็ดพันธุ์จึงไม่มีวันหายไปเพียงแต่วันนี้เมล็ดพันธุ์ อาจจะย้ายถิ่นที่อยู่และกำลังเติบโตขึ้นในอีกรูปแบบหนึ่ง บทวิเคราะห์ใน 2 ชุดความรู้จากกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้วิถีทางในการดำรงอยู่และเป็นเกษตรกรตัวอย่างของการไม่ยอมแพ้และมีความพยายามในการพัฒนาตนเอง

References

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร และ กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล (2550) สวัสดิการพื้นฐาน : รากฐานความเป็นธรรมทาง

รายได้ของกลุ่มคนด้อยโอกาส. กรุงเทพฯ : สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์ (2555). แนวคิดและคำนิยามของความมั่นคงทางอาหาร, สืบค้น: 18 สิงหาคม 2556,

จาก: http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/36/24.pdf)

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์ (2558) ความมั่นคงทางอาหาร:จากพัฒนาการเกษตรสู่เศรษฐกิจพอเพียง วารสาร

การเมืองการปกครอง. 5(2), 144-160.

วสวัตติ์ มานู (2560). ความมั่นคงทางอาหารและปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหารของประชาชน ต.นา

มะตูม อ.พนัสนิคม. จังหวัดชลบุรีสืบค้น: 18 สิงหาคม 2556, จาก: http://digital_collect.lib.

buu.ac.th/dcms/files/57920870.pdf

ศยามล เจริญรัตน์(2559). อนาคตของความมั่นคงทางอาหารในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทย: ความท้า

ทายของชุมชน. วารสารวิจัยสังคม, 39(1), 146-180.

Foucault, Michel. (1995). Discipline and Punish. Translated by Alan Sheridan. New York:

Vintage.

Foucault, Michel. (1984). Nietzsche, genealogy, history, The Foucault Reader, edited with

Introduction by Paul Rabinow. New York: Pantheon Books.

The Federal Ministry for Economic Cooperation and Development (BMZ) and ASEAN

Sustainable Agrifood Systems (ASEAN SAS). (2016). Blue Book 2016 EU-ASEAN:

Development Cooperation in 2015. Jl. Jakarta 10220 Indonesia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30