การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ จันทร์กล่ำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระสุทธิสารเมธี, ผศ.ดร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย https://orcid.org/0000-0002-5436-5051

คำสำคัญ:

การพัฒนา;, ทรัพยากรมนุษย์;, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ควรพัฒนาทั้ง 3 ด้าน คือการพัฒนาตนให้เป็นคนที่มีศักยภาพ มีความพร้อม มีความรู้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนา สมรรถนะอันจะนำไปสู่การพัฒนาคนในองค์กร  การพัฒนาคนให้มีความพร้อมมีความสามารถในปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด  มีความสุขในการทำงาน การพัฒนางานเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาตน และ พัฒนาคนในองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากการพัฒนาทั้ง 3 ด้านไปพร้อมกัน หลักพุทธปรัชญาเถรวาทสำหรับนำมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลักธรรมที่มุ่งพัฒนาตน ได้แก่เบญจศีล-เบญจธรรม หลักธรรมที่นำมาพัฒนาคนได้แก่ภาวนา 4 และหลักธรรมที่นำมาพัฒนางานได้แก่ อิทธิบาท 4 หลักธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาชีวิตของมนุษย์ที่เป็นขั้นเป็นตอนอย่างชัดเจน และมีความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ มีศักยภาพพร้อมในการปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะสมบูรณ์ได้ต้องพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน เพราะว่าการที่จะพัฒนาตนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลนั้นบุคคลจะต้องมีศีลธรรมก่อนด้วยการทำตนให้เป็นคนดี จึงจะนำไปสู่การพัฒนาคนอื่นได้ เมื่อบุคคลในองค์กรได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมาย ก็จะเกิดการพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จด้วยการใช้หลักพุทธปรัชญามาสนับส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเพราะ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญขององค์กรทุกองค์กร

References

เดโช แขน้ำแก้ว. 2563. พุทธศาสนา: ขัดขวาง หรือพัฒนาสังคม?. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5(1), 1-11.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). 2544. แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา, กรุงเทพมหานคร : กองทุนวุฒิธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). 2550. การพัฒนาที่ยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทมมหานคร : บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์. 2550. การศึกษาฝึกฝนพัฒนาตนให้สูงสุด, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์สวยจำกัด.

พระครูปทุมภาวนาจารย์ และ เสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์. 2562. วารสารพุทธจิตวิทยา, 4(1), 137

มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2556. พระไตรปิฏกและอรรถกถาแปล ฉบับ 91 เล่ม. พิมพ์ลักษณ์: กรุงเทพมหานคร.

วิษณุ กฤตเลิศชาย. 2565. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุค 4.0. มจร.เลยปริทัศน์, 3(1), 50-58.

สำลี รักสุทธิ. 2543. ศีลสุดยอดวินัยของศาสนาพุทธ, กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.

อุสา วงศ์ศิริกุล. 2566. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการบริหารงานของสถาบัน พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอกระทรวงอุตสาหกรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(2), A174-A181.

Nakamura, J., & Csikszentmihalyi, M. (2009). Flow theory and research. Handbook of positive psychology, 195, 206.

Thepa, P. C. A., Sutthirat, N., & Phanthanaphruet, N. (2022). Buddhist Philosophical Approach On The Leadership Ethics in Management. Journal of Positive School Psychology, 6(2), 1289-1297.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10