แนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ ปะวันนา คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความซื่อสัตย์สุจริต, คุณธรรมจริยธรรม, สังคมไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริตโดยตรง (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของนักวิชาการไทยเกี่ยวกับแนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต (3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 2 แหล่ง คือ (1) เอกสารชั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา (2) เอกสารชั้นทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทย ในช่วงระยะเวลา 18 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2547 – 2564 ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริตโดยตรง ได้แก่ (1) หิริ (2) โอตตัปปะ (3) ยถาลาภสันโดษ (4) ยถาพลสันโดษ (5) ยถาสารุปปสันโดษ (6) อทินนาทานา เวรมณี (7) มุสาวาทา เวรมณี (8) อนภิชฌา (9) สัจจะ (10) อนวัชชสุข (11) สัมมาอาชีวะ และ (12) อาชชวะ 2. นักวิชาการไทยให้ข้อเสนอแนะแนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตแก่สถาบันหลัก 6 สถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา (นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน) สถาบันศาสนา หน่วยงานภาครัฐ (ข้าราชการและนักการเมือง) หน่วยงานภาคเอกชน (นักธุรกิจ) และสื่อมวลชน ดังนี้ คือด้านการสร้างความซื่อสัตย์สุจริต ด้านการรักษาความซื่อสัตย์สุจริต ด้านการป้องกันการทุจริตคดโกง และด้านการแก้ไขการทุจริตคดโกง 3. แนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) สังวรปธาน: ด้านการป้องกันการทุจริตคดโกง (2) ปหานปธาน: ด้านการแก้ไขการทุจริตคดโกง (3) ภาวนาปธาน: ด้านการสร้างพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต และ (4) อนุรักขนาปธาน: ด้านการรักษาคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตให้มั่นคงยืนยาว

References

ขัตติยา กรรณสูต และคณะ. (2547). คุณธรรม พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย. นนทบุรี: สำนักงาน ป.ป.ช..

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2554). การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

ธิฏิรัตน์ พิมลศรี และคณะ. (2564). การปลูกฝังวัฒนธรรมสุจริต เพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์การ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 13(3), 81-97.

นพวรรณ ธรรมสิทธิ์ และคณะ. (2560). การสร้างค่านิยมสุจริตของเยาวชนภายใต้วัฒนธรรมการยอมรับคอร์รัปชันในสังคมไทย พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. (รายงานผลการวิจัย). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปรียานุช วัฒนกูล และธีรภัทร์ ลอยวิรัตน์. (2563). การศึกษารูปแบบการสร้างเครือข่ายเยาวชนเพื่อส่งเสริมค่านิยมสุจริตและการต่อต้านการคอร์รัปชัน จังหวัดมหาสารคาม. (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เปิดวิกฤติ ‘คุณธรรม’ ในสังคมไทย พบทุจริตคอร์รัปชันปัญหารุนแรง. (29 สิงหาคม 2559). แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก https://www.naewna.com/local/232661.

พระพรหมเวที (สุเทพ ผสส̣ธมโ̣ม) และพระครูสังฆรักษณ์ทรงพรรณ ชยทตโ̣ต. (2563). การพัฒนาศึกยภาพสถาบันทางสังคมในการปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมและค่านิยมสุจริตในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(3), 14-26.

ภักดี โพธิสิงห์. (2560). การวิจัยและพัฒนากระบวนการสร้างค่านิยมสุจริตสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. (รายงานผลการวิจัย). ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1-45. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และคณะ. (2564). สรุปรายงานการวิจัยประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. นนทบุรี: สำนักงาน ป.ป.ช..

ศูนย์คุณธรรม. (2554). แผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: พริกหวาน.

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” (NIDA Poll: โพลแห่งแรกในประเทศไทย). (2557). คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก https://nidapoll. nida.ac.th/survey_detail?survey_id=415

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (ม.ป.ป.). การเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การวิจัยและพัฒนารูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความซื่อสัตย์สุจริต. กรุงเทพฯ: พริกหวาน.

Burikul, T., et al. (2011). Study on integrity and transparency of Thai society. Center for Moral Promotion.

Center for Moral Promotion. (2011). Promoting moral and ethical standards in Thai society.

D’Alessandro, A. M., Butterfield, K. M., Hanceroglu, L., & Roberts, K. P. (2022). Listen to the Children: Elementary School Students’ perspectives on a mindfulness intervention. Journal of Child and Family Studies, 31(8), 2108–2120. Retrieved December 23, 2020, from https://doi.org/10.1007/s10826-022-02292-3

Dawson, A. F., Brown, W. W., Anderson, J., Datta, B., Donald, J. N., Hong, K., Allan, S., Mole, T. B., Jones, P. B., & Galante, J. (2020). Mindfulness-based interventions for university students: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Applied Psychology: Health and Wellbeing, 12(2), 384–410. Retrieved December 23, 2020, from https://doi.org/10.1111/aphw.12188

de Zoysa, P. (2016). When east meets west: Reflections on the use of Buddhist mindfulness practice in mindfulness-based interventions. Mental Health, Religion & Culture, 19(4), 362–370. Retrieved December 23, 2020, from https://doi.org/10.1080/ 13674676.2016.1200542

Dhammaratana, K. S. (2019). Buddhist maha vihara, 2019 almanac. Sasana Abhiwurdhi Wardhana Society.

Eberth, J., & Sedlmeier, P. (2012). The effects of mindfulness meditation: A meta-analysis. Mindfulness, 3(3), 174–189. Retrieved December 23, 2020, from https://doi.org/10.1007/ s12671-012-0101-x

Ferguson, G. J. (2020). Buddhism. In D. Yaden, Y. Zhao, K. Peng, & A. Newberg (Eds.), Rituals and practices in world religions. Springer. Retrieved December 23, 2020, from https://doi.org/10.1007/978-3-030-27953-0_5

Flett, J. A. M., Hayne, H., Riordan, B. C., Thompson, L. M., & Conner, T. S. (2019). Mobile mindfulness meditation: A randomised controlled trial of the effect of two popular apps on mental health. Mindfulness, 10(5), 863–876. Retrieved December 23, 2020, from https://doi.org/10.1007/s12671-018-1050-9

Kanasoot, K., et al. (2004). Ethical behavior and integrity promotion in Thai culture. Journal of Thai Ethics.

Office of the Education Council. (2019). Policies and strategies for promoting integrity in the education system.

Office of the Public Sector Development Commission. (n.d.). Enhancing public sector integrity and transparency.

Phromwethee, P. (Suthep Phasuthammo), & Chayatattho, P. (2020). Religious ethics in promoting integrity in Thai society.

Pimolsri, T., et al. (2021). Educational approaches to fostering ethical behavior and integrity among youth. Journal of Educational Innovation.

Sutthirat, N., Pettongma, P. W. C., & Thepa, P. C. A. (2023). Buddhism Moral Courage Approach on Fear, Ethical Conduct and Karma. RES MILITARIS, 13(3), 3504-3516.

Thamsithi, N., et al. (2017). Family education and integrity promotion. Family Studies Journal.

Thepa, P. C. A. (2022). Buddhist Psychology: Corruption and Honesty Phenomenon. Journal of Positive School Psychology, 6(2), 5986-6005.

Transparency International. (2020). Corruption Perceptions Index 2020. Retrieved December 23, 2020, from https://www.transparency.org/en/cpi/2020

Wattanakul, P., & Loyvirat, T. (2020). Innovative teaching methods for ethical development in students. Journal of Educational Innovation.

Wongthanavasu, S., et al. (2021). Corporate governance and ethical business practices in Thailand. Business Ethics Journal.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29