การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • ศิลชัย ถาวร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ผศ.ดร.สายสุดา เตียเจริญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การประเมิน; , โครงการพัฒนา; , คุณธรรมจริยธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านบริบท 2) ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านปัจจัยนำเข้า              3) ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา   ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านกระบวนการ 4) ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครู จำนวน 70 คน รวมทั้งสิ้น 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตามรูปแบบการประเมินซิปโมเดล ของสตัฟเฟิลบีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า 1) โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านบริบท อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก 2) โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก 3) โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก 4) โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา , 116 (74 ก), 3.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและการเรียนธรรมศึกษาในสถานศึกษา.

จิระพงษ์ สุริยา. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสรรพวิทยาคม. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(3), 68-78.

ชูชาติ แปลงล้วน. (2550). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนในโครงการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

นฤมล วิทยาวุฒิรัตน์. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University. JETC, 2(4), 97-107.

พระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ. (2561). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 81-90.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2560). การประเมินโครงการฝึกอบรม: แนวคิด รูปแบบ และกระบวนการประเมิน. วารสารศึกษาศาสตร์, 10(1), 42-57.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). การประเมินโครงการ แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟ เคอร์มิสท์ จำกัด.

Stufflebeam, D. L. (2000). The CIPP model for evaluation. In Evaluation models: Viewpoints on educational and human services evaluation (pp. 279-317). Dordrecht: Springer Netherlands.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30