บทบาทและวิธีการรำหน้าพาทย์สำหรับพระนารายณ์ในการแสดงโขน
คำสำคัญ:
บทบาทพระนารายณ์;, การรำหน้าพาทย์;, การแสดงโขน;บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและวิธีการรำหน้าพาทย์ของพระนารายณ์ในการแสดงโขนโดยการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การฝึกปฏิบัติจากศิลปินแห่งชาติ
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทยโขนพระ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่าพระนารายณ์ปรากฏในวรรณกรรมการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์บทพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรวมทั้งสิ้น 2 ตอนคือ ตอนอัญเชิญพระนารายณ์อวตาร
และตอนพระนารายณ์ปราบนนทกซึ่งในการแสดงบทบาทพระนารายณ์มีกระบวนการรำที่ใช้เฉพาะกับพระนารายณ์ในเพลงหน้าพาทย์ 3 เพลง ได้แก่ 1. ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ 2. กลมนารายณ์ และ 3. ตระนารายณ์
โดยผู้แสดงบทบาทพระนารายณ์นอกจากต้องรำได้อย่างถูกต้องตามแบบแผนทางนาฏศิลป์ไทยแล้วนั้นยังต้องศึกษาภูมิหลังของตัวละครเพื่อนำมาประกอบการแสดงจึงทำให้การแสดงบทบาทพระนารายณ์นั้นสมบูรณ์และน่าชมมากยิ่งขึ้นเนื่องจากพระนารายณ์เป็นตัวละครประเภทเทพเจ้าจึงมีการรำที่มีกระบวนท่าที่ใช้ทักษะทางด้านนาฏศิลป์ไทยเป็นหลักผู้แสดงต้องแม่นยำในท่ารำรวมถึงต้องศึกษาตัวละครให้แตกฉานเพื่อให้เข้าถึงตัวละครทำให้ผู้แสดงออกลีลาไปตามกระบวนท่ารำและสวมบทบาทเป็นพระนารายณ์ในการแสดงโขนได้อย่างถูกต้องงดงาม
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ความรู้ศาสนาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกษม ทองอร่าม. (2565, กันยายน 2). สัมภาษณ์. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
ชณัฐกร แตงอ่อน, จินตนา สายทองคำ, & ขวัญใจ คงถาวร. (2023). รำเชิดฉิ่งของตัวพระในการแสดงโขน. วารสารศรีวนาลัยวิจัย (Journal of Srivanalai Vijai), 13(1), 15-19.
ฐิระพล น้อยนิตย์. (2565, ธันวาคม 5). สัมภาษณ์. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
ธนกร สุวรรณอำภา. (2565, พฤศจิกายน 7). สัมภาษณ์. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
พาณุพล กาญจนกฤต. (2565, ตุลาคม 8). สัมภาษณ์. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
พีรพน พิสณุพงศ์. (2538). เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู. บทความวิชาการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง, ศิลปินแห่งชาติ. (2565, ธันวาคม 10). สัมภาษณ์. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
ภัทริยา ศรีสุข. (2024). สัมพันธบทและการผสมข้ามสายพันธุ์ทางวัฒนธรรมตัวละครทศกัณฐ์ในสื่อวัฒนธรรมประชานิยมของไทย. วารสารศาสตร์, 17(1), 187-187.
มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2547). วรรณคดีและวัฒนธรรมไทย. บทความวิชาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลมุล ยมะคุปต์. (2526). คุณานุสรณ์การเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพนางลมุล ยมะคุปต์. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์.
วิสารุต อิ่มเอิบ, & สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2023, April). การสวมบทบาทนางนารายณ์แปลงในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์. รายงานการประชุม Graduate School Conference, 5(1), 632-639.
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์, ศิลปินแห่งชาติ. (2566, มกราคม 3). สัมภาษณ์. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
อมรศักดิ์ จันทร์อินทร์. (2543). บทบาทของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ต่อพิธีไหว้ครูโขนละครไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์