บูรณาการหลักกุศลกรรมบถในการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน
คำสำคัญ:
กุศลกรรมบท, พัฒนามนุษย์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักกุศลกรรมบถ 2) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน 3) บูรณาการหลักกุศลกรรมบถในการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน 4) นำเสนอองค์ความรู้การบูรณาการหลักกุศลกรรมบถในการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถถา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) หลักกุศลกรรมบถ เป็นเครื่องมือในการทำกรรม ประกอบไปด้วย ทางกาย เรียกว่ากายกรรม ทางวาจา เรียกว่าวจีกรรม และทางใจ เรียกว่ามโนกรรม รวมเรียกว่ากุศลกรรมบถ (2) การพัฒนามนุษย์จะต้องพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม เป็นการฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การพัฒนาทางกาย เป็นการรักษาความสมดุลของสุขภาพพร้อมในการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมต่างให้เป็นไปตามวิถีหน้าที่การงาน ด้านจิตใจเป็นการดูแลรักษาสุขภาพจิตให้เกิดสันติสุขภายใน ขจัดสิ่งที่ทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง เข้ามาครอบงำจิตใจด้านสติปัญญา (3) การบูรณาการหลักกุศลกรรมบถในการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน ทั้ง 3 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านคุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตมีความสำคัญทั้งต่อบุคคล และสังคม ด้านวัฒนธรรม การเกิดขึ้นของพฤติกรรมรวมหมู่และขบวนการสังคม ระบบสังคมจำต้องมีการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านสังคมมีการจัดระเบียบทางชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความมั่นคง ด้านความเชื่อสังคมไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยมอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหลักธรรมเรื่องกรรมถูกบิดเบือนไปจากหลักคำสอนตามแนวพุทธปรัชญาซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องแต่ไม่ได้มองไปที่ผลของมัน คือ ความดี ความชั่ว อันมีอยู่แล้วในกรรมนั้น (4) องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย สามารถสังเคราะห์เรียกว่า “MAI MODEL”
References
กรมการศาสนา. (2525). อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต เล่ม 22. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
คณะกรรมการแผนกตำรามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2540). วิสุทฺธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺส ปโม ภาโค. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
จักรพันธ์ สุทธิธรรม. (2559). ศึกษาการรับผลกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต. พุทธ มัคค์, 3(1), 19-25.
พรทิพย์ พฤทธ์กิตติวงศ์. (2563). การวิเคราะห์การกินเจด้วยหลักกรรมในพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิ จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). ถึงเวลาพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระอธิการประมวล อธิปญฺโญ (จันทรประทักษ์) และคณะ. (2563). หลักกุศลกรรมบถ 10 กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬา, 7(3), 43.
วศิน อินทสระ. (2546). หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด. กรุงเทพมหานคร : เรือนธรรม
อรรถพล เปี่ยมปฐม. (2560). การศึกษาวิเคราะห์กุศลกรรมบถเพื่อพัฒนาชีวิต. วิทยานิพพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อำนาจ สงวนกลาง. (2558). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
อัมพร หุตะสิทธิ์. (2546). ทรรศนะเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทและการให้ผลของกรรม. ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์