วิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาประวัติและการสร้างเจดีย์ในยุครัตนโกสินทร์ 3) เพื่อวิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารทางวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธสุนทรียศาสตร์จากพระไตรปิฎก แบบสำรวจรูปแบบเจดีย์ด้วยวิธีสังเกตุผลการวิจัย พบว่าสุนทรียศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ทฤษฎี ได้แก่ 1) กลุ่มจิตนิยม 2) กลุ่มวัตถุนิยม 3) กลุ่มสัมพัทธนิยม 4) พุทธสุนทรียศาสตร์ การสร้างเจดีย์เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาอันทรงคุณค่านำมาซึ่งความงามทางสุนทรียะในยุครัตนโกสินทร์พบเจดีย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จำนวน 4 รูปแบบ คือ เจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกา และ เจดีย์พระปรางค์ วิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ 1) เจดีย์ทรงเครื่อง จิตสัมผัสได้ถึงความเด่นชัดทางศิลปะเกิดอารมณ์ให้คล้อยตามเกิดความรู้สึกที่น่าทึ่ง รูปทรงอยู่บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แสดงออกถึงความเชื่อวัฒนธรรมประเพณี 2) เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ความงามขององค์เจดีย์ทำให้มีความรู้สึกถูกดึงดูดเข้ามายังอีกมิติหนึ่ง จัดวางไว้ในส่วนสำคัญของวัด สร้างตามบริบทแบบแผนมีมิติความงาม 3) เจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกา มีความเด่นชัดในการปรากฏต่ออารมณ์ รู้สึกเกิดความศรัทธา มีความงามที่เป็นระบบสมเหตุสมผล 4) เจดีย์ทรงพระปรางค์ สะท้อนออกมา ได้ความทึ่ง ลักษณะการจัดวางมีการวางตามคติ การทิ้งเส้นมีลักษณะชดช้อย รูปทรงของเจดีย์ทั้ง 4 รูปแบบ สื่อความหมายในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
References
โกสุม สายใจ และคณะ. (2542). สุนทรีภาพของชีวิต/สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : บริษัท เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
จอห์น เลน. (2550). ความงามข้ามกาลเวลา : สุนทรียธรรมในศิลปะและชีวิตประจำวัน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ
บุญยัง หมั่นดี. (2531). มนุษย์กับการรับรู้ศิลปะ. ครุปริทัศน์. ปีที่ 13 เดือนสิงหาคม.
พระมหารังสันต์ กิตฺติปญฺโ (ใจหาญ). (2553). การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอุดม ปญฺาโภ. (2547). การศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลป์เชิงสุนทรียศาสตร์: ศึกษากรณีเฉพาะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2551). พระราชบัญญัติส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย. เล่ม 125 ตอนที่ 44 ก. กระทรวงวัฒนธรรม. นนทบุรี: วิชั่น พรีเพรส จำกัด.
วศิน อินทสระ. (2545). การพึ่งตน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : เรือนธรรม.
ศุภรัตน์ อินทนิเวศ และคณะ. (2560). แบบเรียนรายวิชา GEN1135 สุนทรียสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : สูตรไพศาลบิวเดอร์.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2518). ตำนานพระพุทธเจดีย์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
สุพจน์ จิตสุทธิญาณ. (2557). ความเข้าใจสุนทรียะในงานสถาปัตยกรรม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์