การใช้นวัตกรรมทางการเงินแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs
คำสำคัญ:
นวัตกรรมทางการเงิน; , ฟินเทค; , ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบนวัตกรรมทางการเงินมาใช้แก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจ SMEs 2. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน และ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางนโยบายและบทบาทของภาครัฐ และภาคการเงิน ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน ผลการศึกษา พบว่า แหล่งที่มาของเงินทุนสำหรับธุรกิจ SMEs แบ่งออกเป็นแหล่งเงินทุนภายใน คือ กำไรสะสม และแหล่งเงินทุนภายนอก คือ แหล่งเงินทุนจากจากสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานภาครัฐ โดยการกู้ยืมเงินนั้นต้องมีหลักประกันในการค้ำประกัน จึงส่งผลให้ต้องมีการไปกู้ยืมจากบุคคลอื่น และเงินกู้นอกระบบ ซึ่งในกรณีนี้ผู้กู้จะถูกคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าตามที่กฎหมายได้กำหนด ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทางของนวัตกรรมทางการเงิน หรือ ฟินเทค คือ P to P lending ที่เข้ามาเป็นตัวกลางทางการเงินทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการ และลดความไม่สมมาตรของข้อมูลระหว่างผู้กู้และนักลงทุนด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่าแนวทางอื่น ๆ และให้ผลตอบแทนได้สูงกว่าธนาคาร นับเป็นการเพิ่มผลิตภาพของอุตสาหกรรมการเงิน และเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน ให้กับกิจการขนาดเล็กที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อของธนาคาร และเป็นนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม สร้างที่มาของแหล่งเงินทุนและตลาดใหม่ในภาคการเงินที่ภาคธุรกิจสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วยกระบวนการทางธุรกิจ แต่ในปัจจุบัน P to P lending ยังไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย เนื่องจากความคลุมเครือของกฎหมาย และธุรกิจธนาคารอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากอาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด ซึ่งมีแหล่งรายได้หลักมาจากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการปล่อยสินเชื่อ
References
กิ่งกาญจน์ เกษศิริ และ นุชนารถ ปานทอง. (2559). แหล่งเงินทุนสำหรับ SMEs ไทย...หัวใจนักสู้. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565 จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article27_10_59.pdf
ปรีติ เกตุวรสุนทร. (2564). การศึกษาปัจจัยอุปสรรคที่มีต่อผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต่อการตัดสินใจของผู้ให้บริการทางการเงินธุรกิจและนักลงทุนของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3992
พชร อารยะการกุล. (2020). เรื่องเงิน เรื่องใหญ่ ฉุด SMEs ติดหล่มวิกฤต. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565 จาก https://thestandard.co/smes-money-problem
ภคมน โภคะธีรกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 1(2), 116-125.
ธิติ พรหมสูงวงษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคล P2P Lending (Peer to Peer Lending) ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต. สืบค้นจาก https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1554
สิริเกียรติ รัชชุศานติ. (2533). การจัดหาเงินทุน VS การเตรียมตัวเพื่อขอสินเชื่อ. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565 จาก http://mis2.rmutt.ac.th/
Bhujell, K., Khemraj, S., Chi, H. K., Lin, W. T., Wu, W., & Thepa, P. C. A. (2021). Trust in the Sharing Economy: An Improvement in Terms of Customer Intention. Indian Journal of Economics and Business, 20(1), 713-730. Retrieved from https://www.ashwinanokha.com/resources/55.%20Karun%20Bhujel%20and%20Others_pagenumber.pdf
Chen, H., Chiang, R., & Storey, V. (2012). Business Intelligence and Analytics: From Big Data to Big Impact. MIS Quarterly, 36(4), 1165-1188.
Elkington, J. (1998). Partnerships from cannibals with forks: The triple bottom line of 21st‐century business. Environmental Quality Management, 8(1), 37-51.
Härle, P., Havas, A., & Samandari, H. (2016). The Future of Bank Risk Management. Publisher House: McKinsey & Company.
Patrick, R. (2017). For Whose Benefit? The Everyday Realities of Welfare Reform. Bristol: Policy Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์