มายาคติของการสักบนเรือนร่างของผู้หญิง
คำสำคัญ:
มายาคติ;, การสัก;, มายาคติของการสัก;, การสักบนเรือนร่างของผู้หญิง;, มายาคติของการสักบนเรือนร่างของผู้หญิงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ ต้องการเผยให้เห็นถึงอำนาจของมายาคติ ที่กระทำการผ่านภาคปฏิบัติการของความรู้ความเชื่อที่แสดงเจตจำนงและกำหนดอัตลักษณ์ของความเป็นอื่นให้กับผู้หญิงที่มีรอยสักในบริบทของสังคมไทย การสื่อสารของผู้หญิงผ่านรอยสักบนเรือนร่างตามความเชื่อ ความหวัง ความต้องการ และเจตจำนงของผู้หญิงในการสร้างอัตลักษณ์และความรู้ใหม่ให้กับรอยสักบนเรือนร่างเพื่อการยอมรับของคนในสังคม ผลการศึกษาพบว่า ด้านหนึ่งรอยสักบนเรือนร่างของผู้หญิงเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ความต่ำต้อย ตราบาปของการเป็นทาส และการต้องโทษ มีค่าเพียงความเป็นอื่นของพฤติกรรมเชิงลบ แต่ปัจจุบันผู้หญิงให้คุณค่าของรอยสักแตกต่างออกไป โดยการสร้างอัตลักษณ์แห่งตัวตนใหม่ รอยสักจึงกลายเป็นพื้นที่ของการบันทึกความทรงจำที่งดงาม และเจ็บปวด คือประตูพื้นที่ทางโอกาสของการมีชีวิตอย่างมีคุณค่า และเป็นสุนทรียงานศิลปะบนผิวหนังที่สวยงาม มายาคติรอยสักในสังคมไทยควรเอื้อต่อการให้โอกาสของความเท่าเทียม สร้างสังคมที่เห็นคุณค่าของชีวิต ยอมรับในความแตกต่าง สร้างเจตคติที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิด ความเชื่อ เพราะชีวิตของคนไม่ควรได้รับการตัดสินและกำหนดคุณค่าจากชุดความรู้ชุดเดียวภายใต้กรอบของทฤษฎีความรู้กระแสหลัก ควรคำนึงถึงอำนาจเชื่อมโยงที่แอบแฝงอยู่ภายใต้บริบทและประสบการณ์ และเจ้าของประสบการณ์นั้นต้องมีส่วนในการสร้างชุดความรู้เกี่ยวกับตัวตนและการสร้างอัตลักษณ์ ไม่ใช่จากคนอื่นที่สร้างมายาคติขึ้นมาชุดความรู้ที่อ่อนแอและเต็มไปด้วยคำถาม ให้มีอำนาจในการกำหนด ตัดสินและชี้ชะตาผู้คน
References
ก้องสกล กวินรวีกุล. (2545). การสร้างร่างกายพลเมืองไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2481-2487. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนิส พูนวงศ์ประเสริฐ. (2558). รอยสักในสังคมญี่ปุ่น : ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคเมจิ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 17(1), (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 20-29.
รัฐกานต์ กัณพิพัฒน์. (2557). พฤติกรรมเลียนแบบกับค่านิยมการสักของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(3), 39-47.
สังคีต จันทนะโพธิ. (2552). รอยสักสยาม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามบันทึก.
อารียา คหะวงค์. (2564). การสัก บริบทของความเชื่อสู่ความงามบนเรือนร่าง : สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566 จาก http://ica.swu.ac.th/news/detail/2/151.
Crang, Mike. (1998). Cultural Geography. London; New York : Routledge.
Muto Yasuaki and Fukao Mitsuhiro. (2005). Keizai Bijinesu Yougo Jiten. Tokyo: Nihonkeizaishinbunsha.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์