การแก้ไขปัญหาชีวิตตามแนวอนุสสติในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
การแก้ไขปัญหาชีวิต; , อนุสสติ 10; , พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การแก้ไขปัญหาชีวิตตามแนวอนุสสติในพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาชีวิตและการแก้ไขปัญหาชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติตามแนวอนุสสติในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อนำเสนอการแก้ไขปัญหาชีวิตตามแนวอนุสสติในพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก คัมภีร์วิสุทธิมรรค หนังสือ วิทยานิพนธ์ เว็บไซต์ โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาชีวิต หมายถึง อุปสรรคในการใช้ชีวิตและอาจหมายถึง เป็นการขัดขวางการทำอะไรดี ๆ ในชีวิตของเราไม่ให้สำเร็จได้ ปัญหานั้นอาจเกิดจากคน สิ่งของ หรือสภาพสังคมก็ได้และปัญหานี้ยังแบ่งออกเป็นหลายประเภทมีทั้งยาก ง่าย ซับซ้อนเกินกว่าที่จะเข้าถึงปัญญานั้นได้ก็มี แต่งานวิจัยนี้ประมวลไว้ 4 ด้านดังนี้ 1) พฤติกรรม ว่าด้วยเรื่องของ ใจ 2) สุขภาพ ว่าด้วยเรื่องของ กาย 3) ครอบครัว ว่าด้วยเรื่องของ สังคม 4) การงาน ว่าด้วยเรื่องของ เศรษฐกิจ
อนุสสติในพระพุทธศาสนา เป็นสมถกัมมัฏฐานเพื่อพัฒนาจิตโดยใช้พิจารณาองค์ประกอบของ การคิด การนึก ในทางกุศล อย่างเนือง ๆ ช่วยให้สำเสร็จประโยชน์ในทุกกรณี ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น เกิดสมาธิ ข่มนิวรณ์ 5 เกิดองค์ฌาน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญารู้ตามความเป็นจริง
การแก้ไขปัญหาชีวิตตามแนวอนุสสติในพระพุทธศาสนา หลักพุทธธรรมมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อบุคคลที่ปฏิบัติ เพราะผู้ที่ปฏิบัตินั้นสามารถอยู่กับปัญหาอย่างมีปัญญาและเกิดความสุขมากกว่าที่ไม่ได้ฝึกสมถกัมมัฏฐานซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ ทำให้เกิดทักษะ ทั้ง 4 ด้าน ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในกฎไตรลักษณ์ของกายและใจซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาชีวิต 4 ด้าน
คำสำคัญ : 1. การแก้ไขปัญหาชีวิต 2. อนุสสติ 10 3. พระพุทธศาสนา
References
จิตศริณย์พร ปัญจวัฒนคุณ. (2563). การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธสุนทรีย์ศาสตร์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ชำนาญ วงศ์รัศมีเดือน. (2561). การจัดการพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจริตในพระพุทธศาสนา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ประกาศิต ประกอบผล. (2560). การพัฒนาคุณภาพจิตตามแนววิปัสสนากรรมฐาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7 (3), กันยายน-ธันวาคม : 3
ปิยวรรณ สง่าจิต. (2562). กระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระนิวัฒน์ มหาโชติวฑฺฒโน (วันณา). (2564). โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมพลังทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยหลักการทางทฤษฎีและหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาธีรพันธ์ ธีรกิตฺติ (ปัญญาเหล็ก). (2560). ศึกษาเปรียบเทียบคำสอนเรื่องอนุสสติกรรมฐานในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับคัมภีร์กัมมัฏฐานรอม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรืออากาศเอกหญิง ณทมนรัศน์ ธนัทพรห์มภร. (2558). การศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาจิตโดยการเจริญอนุสสติในมหานามสูตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
สุภเชษฐ์ จงธนากร. (2565). โอวาทปาติโมกข์ : การเสริมสร้างโครงข่ายดุลยภาพชีวิต. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์