การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การพัฒนาภาวะผู้นำ;, พุทธปรัชญาเถรวาท;, องค์กรปกครองท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสาคัญคือผู้เชียวชาญ โดยเลือกแบบเจาะจง15 รูป/คน ในเขตพื้นที่ 3 อำเภอ คือ 1) อำเภอเมืองสมุทรสาคร 2) อำเภอบ้านแพ้ว และ3) อำเภอกระทุ่มแบน ในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำ หมายถึง คนที่ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ จนก่อให้เกิดอำนาจ อิทธิพล หรือเกิดการยอมรับ จนสามารถจูงใจผู้อื่นหรือชักพาผู้อื่น ให้ปฏิบัติภารกิจการงานของกลุ่ม หรือองค์กรให้สำเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่ผู้นำหรือองค์กรตั้งไว้ และภาวะผู้นำนั้น จึงอาจจะหมายถึงกระบวนการที่ผู้นำใช้อิทธิพล หรืออำนาจหน้าที่ในการบริหารงานอย่างมีศิลปะ ทั้งการบอกและชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันในการถ่ายทอดแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการในการจูงใจและปฏิสัมพันธ์ให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจวงการขององค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถดาเนินกิจกรรมได้บรรลุผลสาเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กาหนดไว้นั่นเอง
References
บุญช่วย ศรีเปรม,เรื่อง “การดำเนินชีวิตที่ดีของเยาวชนไทยตามหลักสัปปุริสธรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎี บัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553.
พระสามารถ อานนฺโท (เนตรแสง), “ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม”,วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552 .
พระมหาอาคม ไกรอ่อน ,“การพัฒนาแผนและสื่อประกอบการเรียนรู้ วิชาธรรมวินัย เรื่องสัปปุริสธรรม 7 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2” วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย, 2553.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
ว่าที่ร้อยโทสมโพชน์ กวักหิรัญ, บูรณาการการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วยหลักสัปปุริสธรรม,หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554.
อนุวัช แก้วสว่าง. การพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2557.
Clark, John J. Outline of Local Government of The United Kingdom. London: Sir Issac Pitman and Son Ltd. 1957.
Hawkins, L.D. & Coney, K.A. Consumer behavior: building marketing strategy. (8th ed). McGraw-Hill : C ompanies. 2001. Pp. 124-125.
Robson, William A. “Local Governmen” in Encyclopedia of Social Science. New York: The .Macmillan. 1953.
Holloway, William V. State and Local Government in the United States. New York: McGraw-Hill. 1959.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์