การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพุทธศาสนสถาน: กรณีศึกษาที่พักสงฆ์ ป่าเวฬุวัน บ้านสหกรณ์ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม; , การพัฒนา; , ศาสนสถานบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาพุทธศาสนสถาน 3) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพุทธศาสนสถาน ณ ที่พักสงฆ์ป่าเวฬุวัน บ้านสหกรณ์ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี งานวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ มีการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วม คือ การร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ การมีส่วนร่วมแบบ บวร จึงเสริมสร้างจิตสำนึก มีความสำคัญต่อการพัฒนา โดยการพัฒนาศาสนสถาน คือ การปรับปรุงสภาพ จนเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยมีพระสงฆ์ทำหน้าเผยแผ่ และสาธารณูปการ ส่วนหลักธรรมเกี่ยวกับการพัฒนา คือ หลักสามัคคีธรรม และหลักสาราณียธรรม โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนา มุ่งเน้นการสร้างความรู้สึกว่า ศาสนสถานที่สร้างนี้เป็นของชุมชน ทำให้เกิดความรู้สึกหวงแหน สภาพปัจจุบันพบว่า จุดแข็ง ประชาชนมีอุดมการณ์ร่วมกัน มีความศรัทธาในผู้นำ จุดอ่อน อยู่ที่ผู้สืบเจตนารมณ์มีน้อย โอกาส จากการยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในเรื่อง “บวร” อุปสรรค เกิดจากระบบอุปถัมภ์ สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา ด้านสถานที่ ดำเนินการตามหลักสัปปายะ คือ ปรับปรุงมุมพักผ่อน จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ด้านศาสนบุคคล ต้องเป็นปุคคลสัปปายะ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้มาเยือน มีภัสสะสัปปายะ คือมีการพูดจาอ่อนหวาน ทำให้เห็นว่าหากจะพัฒนาศาสนสถาน ควรต้องเริ่มจากการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน ได้แก่ บ้าน และโรงเรียน เข้ามาช่วยเหลือภายในศาสนสถาน เมื่อบวรมีความร่วมมือกันแล้ว การพัฒนาศาสนสถานก็จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
References
กองแผนงาน กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2534). คู่มือประกอบคำบรรยายโครงการถวายความรู้แก่เจ้าอาวาส. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
จิรกร กาญจนชัยรัตน์. (2548). นักเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์กับบทบาทในการขัดเกลาทางสังคม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ประสาท สุขเกษม. (2542). บทบาทของพระภิกษุสงฆ์ในการขัดเกลาทางสังคมแก่เยาวชน: ศึกษากรณีค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการศึกษานอกระบบ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระปลัดบุญมี คุณากโร. (2563). การศึกษาวิเคราะห์การใช้หลักสาราณียธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของชุมชนเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(4), 132-143.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580. (2561). ราชกิจจานุเบกษา, 31.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2550). พระพุทธศาสนา ม.6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์