การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อการพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ของโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ดร. กฤตพิศิษฏ์ ปูรณภัทร์ธนากุล อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ประเทศไทย
  • พระปริยัติวชิรกวี คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาจักรพล เทพา, ดร. คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย https://orcid.org/0000-0001-9184-4273
  • พระมหาวิชิต จันทร์สง่า คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ดร. สิริพร ครองชีพ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง; , ทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง;, การพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์; , อิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดหลักอิทธิบาท 4 ในการพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้และนำเอาหลักอิทธิบาท 4 ไปปรับใช้ตามระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงงานที่ผู้สอนได้มอบหมาย ตามลักษณะนิสัยใฝ่เรียนรู้ ทักษะในการแก้ไขปัญหา ร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่นอย่างเป็นระบบ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาตนเอง

            ผลการวิจัยพบว่า อิทธิบาท 4 ด้านฉันทะ ทั้งครูและนักเรียนต่างเห็นคุณค่าของการพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ด้านวิริยะ ทั้ง 2 กลุ่มต่างตั้งความเพียรต่อการเรียนรู้ในสื่อสังคมออนไลน์ให้ได้ตามรูปแบบระบบจัดการเรียนการสอน ด้านจิตตะ ทั้ง 2 กลุ่มต่างอุทิศตัวต่องานในระบบการเรียนการสอน จากบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และ ด้านวิมังสา ทั้ง 2 กลุ่มต่างไตร่ตรอง พิสูจน์และทดสอบ ด้วยความพอใจ ความเพียร ความเอาใจใส่ ความไตร่ตรอง ต่อการพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จนเป็นผลสำเร็จอย่างดีแห่งการเรียนการสอนตามสัมฤทธิ์ผลที่ได้ตั้งใจไว้ทุก ๆ ประการ

References

โกนิษฐ์ ศรีทอง. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชา “แนวคิดและทฤษฎีทางการพัฒนาสังคม”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โจ พลัมเมอร์, & คณะ. (2551). The Online Advertising PLAYBOOK (สุชาดา เชาวรียวงษ์ & ศิวัตร เชาวรียวงษ์, Trans.). Thailand: Advertising Research Foundation.

จารุมาศ เรืองสุวรรณ, พันเอก. (2548). การสังเคราะห์แบบจำลองการสอนวิชาชีพช่างตามหลักอิทธิบาท 4 ของพลทหารในส่วนสนับสนุนกองบัญชาการทองทัพบก. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.อาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ถ่ายเอกสาร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺ โต). (2543). ธรรมะกับการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ชินศิรประภา. (2550). สนุก สุขใจ ได้ปัญญา = Constructionism. กรุงเทพฯ: มูลนิธิไทยคม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ตัวชี้วัดและสาระกาเรรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.,สืบค้น 22 พฤษภาคม 2563. จาก https://www.curriculum51.net.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร). (2558). ข้อมูลประวัติโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง กรุงเทพมหานคร. บางแค, กรุงเทพฯ: สำเริงราษฎร์.

Armstrong, J., & Franklin, T. (2008). A Review of Current and Developing International Practice in the use of Social Networking (Web 2.0) in Higher Education. [n.p.]. NY. USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-29