การวิเคราะห์ข้อมูลผู้รับเหมาที่ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • วลีรัตน์ ฤทธิ์กลาง วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุรวี ศุนาลัย สำนักมาตรฐานและบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การทิ้งงาน, รับเหมาก่อสร้าง, สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและศึกษาแนวโน้มของผู้ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจําแนกตามวีธีการจัดซื้อจัดจ้าง รูปแบบองค์กรธุรกิจมูลค่าโครงการ ประเภทงาน และที่ตั้งโครงการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ทิ้งงานก่อสร้างของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 182 ราย ตามหนังสือแจ้งเวียนรายชื่อผู้ทิ้งงานของกรมบัญชีกลาง จํานวน 138 ฉบับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลผู้ทิ้งงานก่อสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมานคือ สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า วีธีการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้รับจ้างก่อสร้างทิ้งงานมากที่สุด คือ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป และมีแนวโน้มการทิ้งงานเพิ่มมากขึ้น รูปแบบองค์กรธุรกิจที่ผู้รับจ้างก่อสร้างทิ้งงานมากที่สุดคือ รูปแบบองค์กรธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในขณะที่บุคคลธรรมดามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นที่สุดและพบว่ารูปแบบองค์กรธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้านบาท มีจำนวนผู้ที่ทิ้งงานน้อยที่สุด มูลค่าโครงการที่ผู้รับจ้างก่อสร้างทิ้งงานมากที่สุด คือ โครงการที่มูลค่าโครงการไม่เกิน 1 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ประเภทงานที่ผู้รับจ้างก่อสร้างทิ้งงานมากที่สุด คือ งานก่อสร้างอาคารใหม่ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ประเภทงานที่ผู้รับจ้างก่อสร้างทิ้งงานมากที่สุด คือ งานก่อสร้างอาคารใหม่ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ที่ตั้งโครงการที่ผู้รับจ้างก่อสร้างทิ้งงานมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า วิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่แตกต่างกันกระจายการทิ้งงานก่อสร้างเป็นสัดส่วนที่แตกต่างกัน ส่วนรูปแบบองค์กรธุรกิจ มูลค่าโครงการ ประเภทงาน และที่ตั้งโครงการ ที่แตกต่างกันกระจายเป็นสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน

References

กรกช อ่อนน่วม และ ฌาน เรืองธรรมสิงห์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 222-233. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/241626

กรมบัญชีกลาง. (2562). คู่มือแนวทางการประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคํานวณราคากลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ. http://web.sut.ac.th/dps/2015/index.php/manual

ติญทรรศน์ ประทีปพรณรงค์. (2565). การป้องกันการทุจริตในกระบวนจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ: บทบาทของผู้สังเกตการณ์อิสระตามแนวทางข้อตกลงคุณธรรม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), 177-202. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jssnu/article/view/252779

บุญรักษ์ แวนบอเซอร์. (2561). เกณฑ์คุณสมบัติเบื้องต้นที่ใช้ในการคัดเลือกผู้รับจ้างสำหรับราชการส่วนท้องถิ่นไทย[ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. Discovery Service for Naresuan University. http://dcms.lib.nu.ac.th/dcms/TDC2563/63333/BoonrukVanborsel.pdf

บุญรักษ์ แวนบอเซอร์ และ กำพล ทรัพย์สมบูรณ์. (2561ก). การศึกษาข้อมูลผู้รับเหมาที่ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 29(4), 19-33. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/eit-researchjournal/article/view/136178

บุญรักษ์ แวนบอเซอร์ และ กำพล ทรัพย์สมบูรณ์. (2561ข). การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ทิ้งงานก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหนังสือเวียนของกรมบัญชีกลาง. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(3), 127-148. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/147053

พงศธร ศรีวงยาง. (2561). ปัญหาการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ศึกษากรณีดำเนินการโดยคำนึงถึงความคุ้มค่า [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. Knowledge Bank at Sripatum University. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7383

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (24 กุมภาพันธ์ 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 24ก หน้า 13-54.

มะโนสิน จันทะนูไล. (2563). การประมาณราคาก่อสร้างอาคารภาครัฐในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. สาระศาสตร์, 3(4), 814-827. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sarasatr/article/view/240449

วรวิชญ์ สิงหนาท. (2563). ระบบติดตามการบริหารสัญญาก่อสร้าง. http://49.231.15.21/deptw2/upload/files/bsmeF256308251323211989.pdf

วุฒิพงศ์ อ่อนศรีสมบัติ. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างอาคารในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. Suranaree University of Technology Intellectual Repository. http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5278/1/Fulltext.pdf

ศรัณย์ จุลปาน และ อิทธิพร ศิริสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการซื้อการจ้างในโครงการก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 14-25. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8302

สมพิศ ชยันโต. (2563). มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกับปัญหาจากการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 12(1), 94-104. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/252613

สิทธิ์ศิริ ฐานประเสริฐ. (2561). ปัญหาที่ส่งผลกระทบทางด้านการเงินต่อการขยายธุรกิจรับเหมาก่อสร้างประเภทอาคารของผู้รับเหมาก่อสร้างในจังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(1), 47-58. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/248457

เสวก ประทุมเมศ. (2556). ปัจจัยและการตัดสินใจคัดเลือกใช้ผู้รับเหมาหลักสำหรับโครงการก่อสร้างในโพ้นทะเลในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. Suranaree University of Technology Intellectual Repository. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/4261

Adil, A., Abdulmajid, T., & Mahdi, S. (2019). Analytical study of the causes of abandoned construction projects. Civil Engineering Journal, 5(11), 2486-2494. http://dx.doi.org/10.28991/cej-2019-03091426

Ariffin, N. F., Jaafar, M. F. M., Ali, M. I., Ramli, N. I., Muthusamy, K., & Lim, N. H. A. S. (2018). Investigation on factors that contribute to the abandonment of building in construction industry in Malaysia. E3S Web of Conferences, 34. https://doi.org/10.1051/e3sconf/20183401025

V. Doraisamy, S., Akasha, Z. A., & Yunus, R. (2015). A review on abandoned construction projects: Causes & effects. Applied Mechanics and Materials, 773-774, 979-983. https://doi.org/10.4028/www.scientific.net/AMM.773-774.979

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22