ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุวัยต้นจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, ปัจจัยทางจิตวิทยา, การตัดสินใจซื้อ, เบเกอรี่เพื่อสุขภาพ, ผู้สูงอายุวัยต้นบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุวัยต้นจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร โดยทำการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น อายุ 60-69 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรงที่เคยซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร โดยคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรของคอแครน ได้จำนวน 385 คน เพื่อความแม่นยำของข้อมูลในการเก็บตัวอย่าง ผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โมเมนต์ผลคูณอย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 65-69 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา หรือ ปวส. เป็นผู้เกษียณอายุ และมีบุตร-หลาน เป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่าย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุวัยต้นจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 เพื่อทำนายอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุวัยต้นจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร คือ Y = 0.748 + 0.298 (ผลิตภัณฑ์) + 0.185 (ช่องทางการจัดจำหน่าย) + 0.336 (การส่งเสริมการตลาด) ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพ คิดเป็นร้อยละ 61.40 ในส่วนของปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุวัยต้นจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยความต้องการด้านความปลอดภัย และปัจจัยความต้องการทางสังคม มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สามารถทำนายอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุวัยต้นจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร คือ Y = 1.432 + 0.490 (ด้านความต้องการด้านความปลอดภัย) + 0.348 (ด้านความต้องการทางสังคม) ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพ คิดเป็นร้อยละ 62.90
References
กชกร ธัชวดีกิตติฤกษ์, ณัฐพันธ์ แก้วสุรพล, และ หรรษมน เพ็งหมาน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 65-82. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ecbatsu/article/view/238287
กรมกิจการผู้สูงอายุ, กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์. (2566, 10 เมษายน) สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 2565. https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962
การมาถึงของสังคมสูงอายุขั้นสุดยอดที่เร็วกว่าที่คาดไว้เดิม โจทย์สำคัญของภาคธุรกิจและรัฐบาลชุดใหม่. (2566, 7 เมษายน). ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Th-Super-Aged-Society-CI3398-07-04-2023.aspx
กุลณภัชร บุญทวี และ สายพิณ ปั้นทอง. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(4), 85-100. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/260065
คณะทำงาน ThaiHealth Watch 2023. (2565). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2566 Thai health watch 2023 สังคมปรับ ชีวิตเปลี่ยน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://www.thaihealth.or.th/?p=325244
จักริน เวียนบุญนาค และ สายพิณ ปั้นทอง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(3), 133-151. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/260301
ชลธีชา ศิริประยงค์ และ ฉันทนา ปาปัดถา. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพของประชากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 6(1), 64-75. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/259822
ณภัสภรณ์ ธนะอั้วมีสม. (2563). กระบวนการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. M.B.A. For Modern Managers. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070070.pdf
ทัตพงศ์ นามวัฒน์ และ ธนพร จนาพิระกนิฎฐ์. (2565). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อระดับการตัดสินใจซื้องาขี้ม้อนของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี, 1(1), 19-30. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/717
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2565, 28 ธันวาคม). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2566-2568: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. ศูนย์วิจัยกรุงศรี. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/modern-trade-2022
ประเจตน์ วิรุฬห์ศรี, ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์, และ นฤพนธ์ เส็งสืบผล. (2565). รูปแบบการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่ธัญพืชเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(3), 372-386. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/265325
มานิสา คำวิไล และ ฉันทนา ปาปัดถา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผักและผลไม้ออร์แกนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มทร. พระนคร, 1(1), 126-145. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/1311
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. https://thaitgri.org/?p=40101
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช. (2558). ธุรกิจการค้าปลีก Retailing business (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วีระชาติ อุตรนคร และ สายพิณ ปั้นทอง. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 37(1), 78-92. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/263249
ศิขรินทร์ โพธิสิทธิ์ และ วัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(3), 231-240. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/assr/article/view/266909
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, และ จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2563). หลักการตลาด: Principles of marketing (ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2563). ธรรมสาร.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2564). หลักการตลาด: Principles of marketing (ฉบับปรับปรุงใหม่) (พิมพ์ครั้งที่ 3). ท้อป.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล, กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2563). สถิติกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563. https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000130/BMA_STATISTICS%202563/ebook%2063.pdf
สุทธิรัตน์ รักจิตร์ (2559, 20 เมษายน). โอกาสของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. MGR Online. https://mgronline.com/mutualfund/detail/9590000039873
อโณทัย งามวิชัยกิจ. (2563). การตลาดดิจิทัล. ร้านพิษณุโลกดอทคอม.
Kleen Station. (ม.ป.ป.). ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ครบจบที่ Kleens station. https://kleensstation.com/
Puratos Thailand. (ม.ป.ป.) หน้าหลัก [เพจเฟซบุ๊ก]. เฟซบุ๊ก. สืบค้น 17 สิงหาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/PuratosThailand/?locale=th_TH
Cochran, W. G. (1997). Sampling technique (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper & Row.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of marketing (17th ed.). Pearson Education.
Perreault, W. D., Cannon, J. P., & McCarthy, E. J. (2011). Essentials of marketing (13th ed.). McGraw-Hill.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior (9th ed.). Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น