การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงคมนาคม
คำสำคัญ:
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, ประสิทธิภาพการทำงานบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2. ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ตัวอย่างคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำนวน 403 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ Independente Samples t-Test, One-Way ANOVA และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุที่ต่างกัน มีประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกันในด้านปริมาณ เวลาและค่าใช้จ่าย สะท้อนให้เห็นว่า ความแตกต่างของอายุมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเนื่องจากลักษณะเฉพาะของแต่ละช่วงวัย และพบว่า ปัจจัยด้านความต้องการอำนาจ ความต้องการความสำเร็จ การศึกษาและความต้องการความผูกพันส่งผลในเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการทำงาน ค่า Adjusted R Square มีค่าเท่ากับ .592 สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้ร้อยละ 59.20 มีนัยสำคัญทางสถิติ สะท้อนให้เห็นว่า พนักงานที่มีอำนาจในการตัดสินใจควบคุมงานและมีความเป็นผู้นำมักมีความต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายการทำงาน การได้รับการศึกษาที่เหมาะสม การยอมรับจากผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ย่อมกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การจึงควรเปิดโอกาสให้พนักงานมีบทบาทในการตัดสินใจและมอบหมายงานที่ความสำคัญเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง
References
กฤตภาคิน มิ่งโสภา และณกมล จันทร์สม. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 209–222. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/254445
กฤตวิทย์ แก้วกำพล, ดารารัตน์ ฉ่ำคร้าม, และจุรีวรรณ จันพลา. (2563). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(2), 160-169. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SPUCJ/article/view/248792
เกสรา บุญครอบ และภัทรนันท์ สุรชาตรี. (2565). การพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2), 51-61. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/260965
ชนิศา หาญสมบุญ และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 46-58. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/236946
ณัฏฐ์วัฒน์ ภควันฉัตร, กฤติยา อิศวเรศตระกูล, และวณิศญดา วาจิรัมย์. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในองค์กรของพนักงานภาคเอกชนจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 29-38. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/259142
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2567). แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2567. https://investor-th.airportthai.co.th/or.html
ปริศนา ศรีไกร และอภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์. (2565). อิทธิพลของความคาดหวังในการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องสำอางในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 45-59. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/250921
วิศิษฏ์ แต้ไพบูลย์ และสุรวี ศุนาลัย. (2567). แรงจูงใจและสภาพแวดล้อมการทำงานในยุคปกติถัดไปที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 38(3), 153-169 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/271385
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2567). หลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ Core business enablers ของรัฐวิสาหกิจ (ฉบับปรับปรุง ปี 2567). https://shorturl.asia/P8L5b
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
อัจฉราพรรณ ตั้งจาตุรโสภณ. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(4), Article e274731. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/274731
เอกสิทธิ์ สนามทอง. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: แนวทางพัฒนาสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(1), 64-77. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/190409
McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A., & Lowell, E. L. (1975). The achievement motive. Irvington. https://archive.org/details/achievementmotiv0000mccl/page/n7/mode/2up
McClelland, D. C. (1985). Human motivation. Foresman and Company. https://archive.org/details/humanmotivation0000unse/mode/1up
Nadler, L. (1980). Corporate human resources development: A management tool. American Society for Training and Development. https://archive.org/details/corporatehumanre0000nadl_r2x0
Petersen, E., & Plowman, E. G. (1949). Business organization and management (Rev ed.). Richard D. Irwin. https://archive.org/details/in.ernet.dli.2015.84677/page/n365/mode/1up
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น