"วารสารพัฒนศาสตร์" วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปลี่ยนชื่อจากเดิม คือ "วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร" ตีพิมพ์ฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2548 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของ "บัณฑิตอาสาสมัคร" วัฒนธรรมการเรียนรู้ การศึกษา องค์ความรู้จากในพื้นที่ชนบทที่บัณฑิตอาสาสมัครได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานภาคสนาม ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงเรื่อยมาจนในปี พ.ศ.2561 ที่สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ได้ยกสถานะเป็นวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชื่อวารสารจึงได้เปลี่ยนเป็น "วารสารพัฒนศาสตร์" และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
จุดมุ่งหมายและขอบเขต
วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ ความก้าวหน้าใหม่ในลักษณะสหสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ โดยเปิดรับบทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานวิชาการลักษณะอื่นๆ ที่ครอบคลุมประเด็นการศึกษาวิจัยและปฏิบัติการพัฒนาในระดับชุมชนท้องถิ่น ชุมชนเมือง ทั้งในมิติทางวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากร ทุนทางสังคม การปฏิบัติพัฒนา และการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับพัฒนามนุษย์และสังคม
การประเมินบทความ
ประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ จำนวน 3 ท่าน/บทความ
กระบวนการพิจารณาบทความ
การพิจารณาบทความเป็นไปตามข้อกำหนดการตีพิมพ์วารสาร
- บทความที่เสนอเข้ามาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
- บทความมีประเด็นหรือแนวคิดที่ชัดเจน มีสาระทางวิชาการที่ถูกต้อง การวิเคราะห์เป็นไปตามแนวคิดหรือทฤษฎีที่เหมาะสม มีข้อเท็จทางวิชาการ ค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและเชื่อถือได้ นำเสนอข้อมูลเข้าใจง่าย ใช้ศัพท์และภาษาทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาที่เป็นไปตามรูปแบบการอ้างอิงที่วารสารกำหนด
- ผู้นิพนธ์ยินยอมให้กองบรรณาธิการสรรหาผู้เชี่ยวชาญกลั่นกรองโดยอิสระ เพื่อพิจารณาคุณภาพของบทความและสามารถตรวจแก้ไขบทความได้ตามที่เห็นสมควร
- บทความจะได้รับการกลั่นกรองเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการขั้นต้นและส่งให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก (peer-reviewers) จำนวน 3 ท่านพิจารณาในรูปแบบ Double-Blinded จากนั้นจึงจะส่งผลการประเมินและข้อเสนอแนะกลับไปยังผู้นิพนธ์ปรับแก้ไขส่งกลับคืนวารสารตามเวลาที่กำหนด
- ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารพัฒนศาสตร์เป็นของผู้นิพนธ์บทความ ผู้ประสงค์จะนำข้อความใด ๆ ไปพิมพ์เผยแพร่ต่อไปต้องได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์และโปรดแจ้งให้ทางวารสารทราบ
Types of articles (ประเภทของบทความ)
- บทความวิจัย (research article)
- บทความวิชาการ (academic article)
Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)
Publication Frequency (กำหนดออก)
วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี
- ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน เผยแพร่เดือนมิถุนายน
- ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม เผยแพร่เดือนธันวาคม
Processing fees (การเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์)
วารสารไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน
Publisher (เจ้าของวารสาร)
วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Vol. 6 No. 1 (2023): ".................................."
วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 นี้ มีบทความวิจัยจำนวนห้าเรื่อง ที่ผ่านการพิจารณาอย่างเข้มข้นจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สู่ผู้อ่าน โดยบทความทั้งห้าเรื่องที่ได้เผยแพร่สู่ผู้อ่านทุกท่านผ่านการตีพิมพ์กับวารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเนื้อหาที่ครอบคลุมองค์ความรู้ทางด้านสหสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ การศึกษาวิจัยและปฏิบัติการพัฒนาในระดับชุมชนท้องถิ่น ชุมชนเมือง ทั้งในมิติทางวัฒนธรรม การเมือง การบริหารจัดการทรัพยากร ทุนทางสังคม การพัฒนามนุษย์และสังคม วารสารเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าบทความทุกชิ้นที่ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ขึ้นมาจะมีคุณค่าและประโยชน์ต่อการนำพัฒนาองค์ความรู้และสร้างการพัฒนาในวงวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ทางวารสารขอขอบคุณผู้เขียนและผู้อ่านทุกท่านที่ให้การสนับสนุนวารสารทั้งการส่งบทความร่วมเผยแพร่สู่วงวิชาการและการอ่านจากระบบออนไลน์ จนทำให้วารสารเป็นที่รู้จักและได้มีผู้สนใจส่งผลงานร่วมเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
Published:
2023-06-28
View All Issues
วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ ความก้าวหน้าใหม่ในลักษณะสหสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ โดยเปิดรับบทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานวิชาการลักษณะอื่นๆ ที่ครอบคลุมประเด็นศึกษาทั้งในมิติทางวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น การศึกษาการพัฒนาเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนามนุษย์และสังคมในระดับชุมชนท้องถิ่นที่ไม่ได้เจาะจงอยู่เฉพาะท้องถิ่นชนบทแต่ยังขยายไปถึงความเป็นชนบทในเมืองและความเป็นเมืองที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชนบท