บทบรรณาธิการ

วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 56 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2024 เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยทางกองบรรณาธิการได้รักษามาตรฐานตามกรอบของวิชาการ พร้อมทั้งดำเนินงานเพื่อผลักดันและพัฒนาคุณภาพของบทความวิชาการและบทความวิจัย ตามมาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)

ในปี 2566 ประเทศไทย ได้มีความพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยว หลังจากที่เกิดโรคระบาด COVID-19 โดยการใช้ Soft Power เข้ามาเป็นกลไกหลักในการดำเนินการของรัฐบาล ซึ่ง Soft Power คือ การเผยแพร่วัฒนธรรมที่ทำให้ผู้อื่น “ต้องการ” และ “ยอมรับ” อย่าง “เต็มใจ” โดยเจ้าของแนวคิดนี้ คือ ดร. โจเซฟ เนย์ (Joseph Nye) ซึ่งได้รับการกล่าวถึงมากในหลายปีที่ผ่านมานี้ โดยสามารถสร้างอำนาจต่อรองในระดับนานาชาติ ผ่านการดึงดูดทางวัฒนธรรมด้วยสื่อการท่องเที่ยว เพื่อแทรกซึมชุดความคิดและภาพลักษณ์ (National Branding) ที่ประเทศนั้นต้องการให้ทั่วโลกจดจำ การเล็งเห็นความสำคัญของการผลักดัน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย (Creative Economy) เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และขยายศักยภาพสู่การส่งออกในระดับสากล จึงมีโครงการ 5F ที่จัดหมวดหมู่ความน่าสนใจไว้ คือ 1) Food อาหารไทย 2) Film ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 3) Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย 4) Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย หรือมวยไทย และ 5) Festival เทศกาลประเพณีไทย

โดยบทความวิจัยที่น่าสนใจในฉบับนี้ เรื่อง “บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการบอกต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง “พหุวัฒนธรรม” การท่องเที่ยวโดยชุมชนหลังวัดโรมันจังหวัดจันทบุรี: บทบาทของตัวแปรส่งผ่านประสบการณ์ที่น่าจดจำและความพึงพอใจ” ของ วัชราภรณ์ ขายม  มีองค์ความรู้ใหม่ โดยเน้นปัจจัยการแสวงหาความแปลกใหม่ การร่วมสร้างประสบการณ์และภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นสิ่งกระตุ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่มีกลิ่นอายทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของนักท่องเที่ยวผ่านประสบการณ์ที่น่าจดจำและความพึงพอใจ อันเป็นการทำความเข้าใจและปรับปรุงความทรงจำเชิงบวกของนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการส่งเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันตลาดการท่องเที่ยว จากนั้นนักท่องเที่ยวแสดงพฤติกรรมการตอบสนองออกมาด้วยการบอกต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นเป้าหมายการตลาดการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว

mceclip0.png

ภาพข้างต้นแสดงถึงองค์ความรู้ใหม่แบบจำลองการบอกต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยว จากกรอบแนวคิดการวิจัยที่พัฒนาขึ้นตามทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย วัชราภรณ์ ขายม

ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงภาพของการใช้พหุวัฒนธรรม เป็นกลไกในการสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวผ่านประสบการณ์ที่น่าจดจำและความพึงพอใจที่แฝงอยู่ในนโยบายด้าน Soft Power ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ทางกองบรรณาธิการวารสารรัชต์ภาคย์ พร้อมสนับสนุนนักวิชาการ อาจารย์ รวมไปถึงนักศึกษาที่มีความสนใจในการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อเสริมคุณค่าและพัฒนาคุณภาพงานทางวิชาการในระดับชาติระดับนานาชาติ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

 ดร. ธันยนันท์ จันทร์ทรงพล

 บรรณาธิการ

 

เผยแพร่แล้ว: 2024-02-29

การสร้างรูปแบบธุรกิจแพที่พักแรมเชิงสร้างสรรค์ในเขื่อนประเทศไทย

โสภาวรรณ ตรีสุวรรณ, คุณัญญา เบญจวรรณ, ปานแพร บุณยพุกกณะ

68 - 91

การจัดการโซ่อุปทานของธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม กรณีศึกษาชุมชนบ้านร่องศาลา

พิทธินันท์ สมไชยวงค์, จิรายุ ทองใจ, สุดารัตน์ ปัญญาคำ, วรพิชชา จอมแก้ว

149 - 167

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน ที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรมการบิน

สุชารัตน์ ศศิพัฒนวงษ์, บรรพต ชมงาม, กานต์ ตรีธนะกุล, พันเทพ ทอเพ็งภูมาลัย, สุบัญชา ศรีสง่า

168 - 180

ภูมิสถาปัตย์ทางกฎหมายของสัญญาจ้างนักกีฬาอาชีพในระบบกฎหมายไทย อังกฤษ เยอรมนี สเปน และอิตาลี

เสถียรภาพ นาหลวง, แคทริน สหชัยยันต์, ชูจิต ธีรพงษ์, จุฬา จงสถิตย์ถาวร

386 - 404

ถอดบทเรียนจากคดีเรือนอร์สตาร์ระหว่างปานามา กับ อิตาลี สำหรับการใช้เสรีภาพการเดินเรือในบริเวณทะเลหลวง

สุมัลลิกา ดาวสุวรรณ , ริญญาภัทร์ ณ สงขลา, ภาณุวัฒน์ ปานแก้ว, อจิรวดี เหลาอ่อน

405 - 415