ISSN: 1905-2243 (Print)

หนังสือรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์

2021-10-20

กองบรรณาธิการวารสารรัชต์ภาคย์ ขอความร่วมมือคณาจารย์ และนักวิจัย นักวิชาการ ที่ประสงค์ส่งบทความวิจัย ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หากงานวิจัยของท่านได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรรมการรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ หรือได้รับการยกเว้นการรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ ขอให้ส่งหลักฐานดังกล่าวเพื่อกองบรรณาธิการพิจารณาเพิ่มเติม นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป

โดยส่งเอกสารดังกล่าวทางอีเมลวารสารรัชต์ภาคย์
E-mail: rjpjournal@gmail.com

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

20 ตุลาคม 2564

Vol. 18 No. 57 (2024): March - April

บทบรรณาธิการ

          วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 57 มีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงาน
ทางวิชาการ โดยทางกองบรรณาธิการ ได้รักษามาตรฐานตามกรอบของวิชาการ พร้อมทั้งดำเนินงานเพื่อผลักดัน
และพัฒนาคุณภาพของบทความวิชาการและบทความวิจัย ตามมาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)

          องค์กรสหประชาชาติ (United Nations: UN) ให้ความสำคัญกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาความยั่งยืนให้แก่โลก 17 เป้าหมาย หรือ SDGs (Sustainability Development Goals) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลก หลังปี ค.ศ. 2015 ที่ทุกประเทศต้องดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016  จนถึงปี ค.ศ. 2030 และเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่เพื่อใช้แก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ของโลกที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบถึงการดำรงชีวิต ซึ่งได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 โดยที่เป้าหมายการพัฒนาทั้ง 17 ข้อ สะท้อน “3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน” (Three Pillars of Sustainability) คือ 1) มิติด้านสังคม 2) มิติด้านเศรษฐกิจ และ 3) มิติด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปี ค.ศ. 2021 ประเทศไทย ได้กำหนดวาระแห่งชาติให้ “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) เป็นเป้าหมายของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเชื่อมโยงกับความยั่งยืนของโลกธุรกิจ (ESG-BCG) ที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนหลักการปฏิบัติ สำหรับการลงทุนที่ภาคธุรกิจจะเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน ด้วยการตระหนักถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) E- Environment ธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบและรักษาสิ่งแวดล้อม 2) S- Social ธุรกิจที่สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับชุมชนและสังคม และ 3) G- Governance ธุรกิจที่มีการบริหารงานอย่างโปร่งใส คำนึงถึงผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสีย ESG จึงเป็นตัวชี้วัดและแนวทางการปฏิบัติงานที่สำคัญในมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ซึ่งครอบคลุมการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน (BCG Model) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่เชื่อมโยงกันทุกภาคส่วน โดยสามารถอ่านบทความวิจัยที่น่าสนใจในวารสารรัชตภาคย์ฉบับนี้ เรื่อง “ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล ที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม ESG100” ของ ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข และวันสิริ ประเสริฐทรัพย์ เพื่อทำความเข้าใจในความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล ที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างต้องการสร้างให้ประเทศของตนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

          ทางกองบรรณาธิการวารสารรัชต์ภาคย์ พร้อมสนับสนุนนักวิชาการ อาจารย์ รวมไปถึงนักศึกษาที่มีความสนใจในการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อเสริมคุณค่าและพัฒนาคุณภาพงานทางวิชาการในระดับชาติระดับนานาชาติ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

 

ดร. ธันยนันท์ จันทร์ทรงพล

บรรณาธิการวารสารรัชต์ภาคย์

 

Published: 2024-04-30

The Effect of Economic Integration on the Sugar Export of Thailand

Oranich Jongjaianurak, Boontham Racharak, Ubonwan Khunthong

103 - 117

Development of Personnel Potential Through Transcendental Meditation Technique

Pornpen Kanjananiyot, Sayumi Horibe, Chen Au Teo, Thitima Promtong

266 - 284

Cosmetic Purchase Intentions of Customers in Thailand Via Social Media Channels

Worrathep Suwanpusaporn, Worraya Rojchanapaphaporn, Natthawat Vongchavalitkul

363 - 378

Causal Factors Influencing Customer Loyalty of Private Parcel Delivery Businesses in Thailand

Kamonchanok Inthana, Sukumarl Koednok, Worraya Rojchanapaphaporn

379 - 397

Organizational Communication Factors Affecting Human Resource Management Process of Staff in Saraburi Municipality

Duangrat Thummasaroch, Makueta Hayiwaesorhoh, Zulkiflee Sai, Sormah Misa, Rasarint Thitiwachthakul

398 - 414

Community Marketing Ingredients that Affect the Purchase of Processed Herbal Products in Lopburi Province

Sarawut Daokongkaew, Thaveesake Sangen, Kusumamal Patchimsawat, Banjong Somanee

431 - 448

View All Issues