บทบรรณาธิการ 

วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 48 ประจำเดือน กันยายน – ตุลาคม 2565 เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยทางกองบรรณาธิการวารสาร ได้รักษามาตรฐานตามกรอบของวิชาการ พร้อมทั้งดำเนินงานเพื่อผลักดันและพัฒนาคุณภาพของบทความวิชาการและบทความวิจัย ตามมาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ทางสถาบันรัชต์ภาคย์ ได้เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 25th FAI-ART INTERNATIONAL CONFERENCE 2022 on “Multidisciplinary Scientific Intelligence in New Normal Digital Era” โดยมีสถาบันการศึกษาในหลายประเทศ อาทิ อินเดีย ยูเครน โรมาเนีย และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เป็นเจ้าภาพร่วมอีกหลายแห่ง พร้อมทั้งเป็นการแสดงถึงพลังสร้างสรรค์ของงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้ ที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาที่อยู่รอบตัว เนื่องจากโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้ว่ากฎแห่งธรรมชาติที่เปลี่ยนผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบันและสืบเนื่องไปยังอนาคตที่ไม่อาจล่วงรู้ จะเป็นสิ่งแน่นอนที่อยู่บนความไม่แน่นอนก็ตาม จึงเป็นความน่าสนใจของนักวิชาการที่จะหาข้อค้นพบและสร้างให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ให้กับสังคม เช่น การศึกษา วิทยาศาสตร์ การจัดการ การเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรม และการบูรณาการของศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่ช่วยให้มนุษย์และสังคมพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมศักยภาพของนักวิชาการจากทั่วทุกมุมโลก และเป็นเวทีในการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ เพื่อตอบสนองต่อสังคมของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นโอกาสที่ดีที่มีการร่วมมือทางวิชาการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

วารสารรัชต์ภาคย์ ก็เป็นเสมือนเวทีแห่งหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักวิชาการ อาจารย์ รวมไปถึงนักศึกษาที่มีความสนใจในการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อเสริมคุณค่าและพัฒนาคุณภาพงานทางวิชาการในระดับชาติ ระดับนานาชาติ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

ทั้งนี้ บทความที่น่าสนใจในฉบับที่ 48 คือเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยบูทแสตรป ฟอนท์เอ็น เฟรมเวิร์ค ในการบริหารจัดการข้อมูลข้าวพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช” ของ พรศิลป์ บัวงาม และ อุทุมพร ศรีโยม ที่มี “องค์ความรู้ใหม่” คือ การพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยบูทแสตรป ฟอนท์เอ็น เฟรมเวิร์ค  ในการบริหารจัดการข้อมูลข้าวพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้กับกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองบ้านโคกสูง ผลของการนำกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ ทำให้ได้ระบบสารสนเทศในแพลตฟอร์มของเว็บแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพ ตรงกับความต้องการของกลุ่มเกษตรกร เพราะสามารถรองรับการใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ ไม่ซับซ้อน สะดวก และรวดเร็ว และพบว่าขั้นตอนการออกแบบระบบสารสนเทศหากได้รับข้อมูลในมุมมองของผู้ใช้งานอย่างแท้จริงจะทำให้ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งาน ซึ่งนับเป็นการบูรณาการศาสตร์ที่น่าสนใจ ที่ผสมผสานระหว่างการเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างให้เกิดนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่

อาจารย์ ดร. ธันยนันท์ จันทร์ทรงพล

บรรณาธิการ

Published: 2022-10-27

Factors Affecting Decision on Purchase of Secondhand Products from Japan of Consumers in Southern Region

Nongrat Sansompron, Kanyanut Chansongkhoa, Natcha Mathong, Wanwadee Seekhaow, Apisak Nwankaew

77-89

Risk Management Model of Schools Under the Foundation of the Church of Christ in Thailand

Orawan Kanlachanphiset, Sopha Amuayrat, Santi Buranachart, Namfon Gunma

105-119

The Development of Creative Tourism to Increase the Community Charm In Pathum Thani Province

Saowarodchanee Saokleaw, Sriparinya Toopgrajank, Saowapark Krajangyooth

263-282